SET Index แกว่งผันผวน ดอลลาร์แข็งค่ากดดันสินทรัพย์เสี่ยงเอเชีย

13 พ.ย. 2567 | 03:00 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ย. 2567 | 03:00 น.

บล.ลิเบอเรเตอร์ คาด SET วันนี้ Sideways กรอบ 1,430-1,465 จุด แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่า และ US Bond Yield เร่งเร็ว กดดันตลาดสินทรัพย์เสี่ยงเอเชียมากขึ้น แนะเกาะติดการผันผวนของค่าเงิน และการทยอยประกาศงบไตรมาส 3/67 กลยุทธ์รอจังหวะย่อ สะสมหุ้นที่คาดแนวโน้มกำไรดี วันนี้แนะ TASCO

นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) เปิดมุมมองต่อตลาดหุ้นไทยวันนี้ 13 พ.ย.67 ว่า คาก SET Index แกว่งตัว Sideways ในกรอบ 1,430-1,465 จุด ปัจจัยหลักๆ เป็นผลมาจากสัญญาณ Dollar Index ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง

โดยล่าสุดทะลุระดับ 106 จุดไปแล้ว แรงหนุนหลักขานรับผลการเลือกตั้งสหรัฐฯที่โดนัล ทรัมป์ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ผสานพรรคริพับลิกันที่ครองเสียงข้างมากทั้งสภาสูง และสภาล่าง สอดคล้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปี ที่เร่งขึ้นวานนี้สู่ระดับ 4.43% (+12bps) จากความกังวลนโยบายของทรัมป์จะเป็นตัวหนุนเงินเฟ้อขยับขึ้นในช่วงถัดไป

ดังนั้น คาดตลาดจะกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเลขเงินเฟ้อมากขึ้น ซึ่งคืนนี้จะมีการรายงานดัชนี US CPI เดือน ต.ค. คาดปรับขึ้นสู่ระดับ 2.6% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน สูงกว่าเดือน ก.พ. ที่ 2.4% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core inflation) คาดทรงตัวที่ระดับ 3.3%

ส่วนการประชุม ครม. วานนี้ มีมติอนุมัติมาตรการสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2 มาตรการ คือ

  1. สินเชื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือคอนโดมิเนียม หรือที่ดินพร้อมปลูกบ้าน ดอกเบี้ยพิเศษ 5 ปี วงเงินสินเชื่อ 5 หมื่นล้านบาท 
  2. สินเชื่อเพื่อต่อเติมหรือซ่อมแซมบ้าน ดอกเบี้ยพิเศษ 3 ปี วงเงินสินเชื่อ 5 พันล้านบาท ถือเป็นการช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์มากยิ่งขึ้น

ส่วนในช่วงถัดไปแนะติดตามมาตรการด้านการบริโภคและท่องเที่ยว คาดจะทยอยออกมาในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ส่วนภาพของ SET ในระยะสั้น อาจผันผวนตามการทยอยรายงานผลประกอบการในไตรมาส 3/67 ดังนั้น กลยุทธ์ทางฝ่ายมองจังหวะย่อเป็นโอกาสในการทยอยสะสมหุ้นที่แนวโน้มกำไรยังขยายตัวได้ดี

ปัจจัยที่ต้องจับตา

13 พ.ย.

  • ดัชนี US CPI, ดัชนี PPI ของญี่ปุ่น

14 พ.ย.

  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทย 
  • ดัชนี US PPI, ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
  • สัปดาห์ สหรัฐฯ, สต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ สหรัฐฯ
  • ดัชนีไตรมาส 3/67 GDP ยูโรโซน
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ยูโรโซน

หุ้นเด่นแนะนำ

  • TASCO ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 20.00 บาท รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3/67 ที่ 735 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 642% จากไตรมาสก่อน และเติบโต 264% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน แรงหนุนจากปริมาณขายยางมะตอบที่ฟื้นตัวกลับมาที่ 3.4 แสนตัน เพิ่มขึ้น 48% จากไตรมาสก่อน เติบโต 29% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน หลังเริ่มมีการเบิกจ่ายงบประมาณมากขึ้น ผสานอัตรากำไรขั้นต้นที่ขึ้นสู่ระดับ 15.3% จาก 9% ในไตรมาส 2/67 และคาดแนวโน้มไตรมาส 4/67 จะเพิ่มขึ้นจากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน จากการบูรณะซ่อมบำรุงผิวถนนหลังผ่านพ้นช่วงน้ำท่วม และเร่งเบิกจ่ายมากขึ้น
  • WHA ยังมีมุมมองเชิงบวกจากการลงทุนในไทยปี 67 ที่มีทิศทางที่ดีขึ้น สอดคล้องกับมูลค่า FDI ปี 66 ที่เติบโตกว่า 73% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน โดยนักลงทุนจีนเข้ามาสูงสุด จากอุตสาหกรรม EV ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าปีนี้ธุรกิจโลจิสติกเพิ่มอีก 2 แสน ตร.ม. ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม จะขยายเพิ่มอีก 2,070 ไร่ รวมทั้งจะมีการขยายสินทรัพย์เข้ากองทรัสต์รวม 2.13 แสน ตร.ม.
  • SGC ราคาเป้าหมาย 1.96 บาท คาดกำไรครึ่งหลังปี 67 จะเร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากการเติบโตของโครงการ SG Finance+ ซึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อมือถือที่สามารถล็อกได้หากผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ NPL Ratio อยู่ในระดับต่ำ ผสานกับการปลดล็อกการเพิ่มทุน จะหนุนให้ SGC ผ่อนคลายดอกเบี้ยจ่าย และมีเม็ดเงินเพิ่มเติมในการปล่อยสินเชื่อ หนุนปี 68 กำไรจะเติบโตแบบก้าวกระโดด 
  • BH คาดกำไรไตรมาส 3/67 ยังคงเติบโตโดดเด่น จากการเข้าสู่ช่วง High Season โดยคาดผู้ป่วยจากตะวันออกกลางยังปรับตัวขึ้นดี ประเด็นของคูเวต คาด BH มีโอกาสถูกเลือกเป็น 1 ใน 3 โรงพยาบาลในไทยที่รัฐบาลคูเวตสนับสนุน ในภาพระยะกลาง คาดได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการเปิดโรงพยาบาลแห่งใหม่ในภูเก็ตในช่วงปี 69
  • AOT คาดกำไรในช่วง ก.ค.-ก.ย. 67 จะขยายตัวได้จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ตามรายได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ในฝั่งรายได้ที่ไม่เกี่ยวกับการบินอาจลดลงเล็กน้อย จากการยกเลิกร้าน Duty Free ขาเข้าตั้งแต่ ส.ค. 67 ในระยะสั้นคาดมีปัจจัยบวกจาก Golden week หนุนนักท่องเที่ยวจีนสูงขึ้น และการเดินหน้าต่อในช่วงปลายปีคาดนักท่องเที่ยวจะเร่งขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการเข้าสู่ช่วงฤดูกาล ขณะที่ Upside อาจมาจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐฯ
  • CPALL คาดแนวโน้มไตรมาส 3/67 เติบโตจากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน แต่ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามฤดูกาล โดย SSSG ของ CPALL ในช่วงไตรมาส 3/67 คาดยังคงเติบโต 2.5% แข็งแกร่งกว่ากลุ่มค้าปลีก ได้แรงหนุนจากการบริโภคที่ขยายตัว ผสานกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐฯ ที่เป็นแรงขับเคลื่อนเพิ่มเติม ซึ่งจะส่งต่อไปยังแนวโน้มไตรมาส 4/67 ที่จะกลับมาเร่งขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อน และจากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน 
  • ITC คาดกำไรไตรมาส 3/67 ที่ 1,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเติบโต 1% จากไตรมาสก่อน ยังขยายตัวจากราคาวัตถุดิบที่ลดลง แม้ว่าค่าเงินบาทในช่วงไตรมาส 3/67 จะอ่อนแอกว่าคาดก็ตาม (แต่มีการล็อกค่าเงินบาทไว้แล้ว) ภาพรวมการดำเนินงานยังขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการขยายตลาดใหม่ๆ และการส่งออกที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ได้
  • MTC รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/67 ที่ 1,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน และเติบโต 3% จากไตรมาสก่อน ทำจุดสูงสุดใหม่ แรงหนุนจากพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัว 3% จากไตรมาสก่อน และเติบโต 15% จากเทียบช่วงเดียวกันกับปีก่อน ผสานกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวดีขึ้น โดยหนี้ Stage 2 ลดลงสู่ระดับ 8% ของสินเชื่อรวม จาก 9% ในไตรมาส 2/67 และอัตราส่วน NPL ลดลงสู่ระดับ 2.82% จาก 2.88%