นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกลยุทธ์องค์กรและพัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART เปิดเผยว่า ภาพรวมในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 67 นี้ บริษัทเตรียมเข้าประมูลงานในอีกหลายโครงการมูลค่ารวมกว่า 2,500 ล้านบาท โดยมุ่งเข้าไปในโครงการที่จะสร้างรายได้ประจำให้เพิ่มขึ้น ทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน โครงการภาครัฐในหลายๆหน่วยงาน ซึ่งจะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทในอนาคต
ส่วนผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทสามารถ ในไตรมาส 3/67 ยังเป็นที่น่าพอใจ บริษัทมีรายได้รวมอยู่ที่ 2,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 245 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และมีกำไรอยู่ที่ 91 ล้านบาท ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับทั้งไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน และเปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ผลขาดทุนอยู่ที่ 183 ล้านบาท จากกรณีหนี้สินระยะยาวในข้อพิพาทกับคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 และการกีฬาแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ เป็นผลจากทุกสายธุรกิจมีโครงการที่ช่วยส่งเสริมให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากธุรกิจด้านการให้บริการจัดการการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชา ธุรกิจก่อสร้างโครงการสายส่งสถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบครบวงจร จากสายธุรกิจ Utilities and Transportations ค่าบริการ Airtime จากสายธุรกิจ Digital Communications และรายได้จากงานตามสัญญา จากสายธุรกิจ Digital ICT Solution เป็นต้น
โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 ของกลุ่มสามารถ แยกตามสายธุรกิจ ดังนี้
มีรายได้รวม 1,332 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 285 ล้านบาทหรือประมาณ 27% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน โดยหลักมาจากธุรกิจก่อสร้างโครงการสายส่งสถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบครบวงจรภายใต้ บริษัท เทด้า จำกัด ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 250 ล้านบาท และยังสามารถขยายธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง
ประกอบกับ บริษัท สามารถ เอวิเอชั่น โซลูชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SAV ธุรกิจด้านการให้บริการจัดการการจราจรทางอากาศที่ประเทศกัมพูชามีรายได้เพิ่มขึ้น 34 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือประมาณ 8.4% มีจำนวนเที่ยวบินรวมแล้วเกือบ 26,000 เที่ยวบิน
ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันกับปีก่อนคิดเป็น 7% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนประมาณ 5% รวมทั้งจากโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเก็บภาษีสรรพสามิต โดยปัจจุบันสายธุรกิจ Utilities and Transportations มีมูลค่างานคงค้างอยู่ที่ประมาณ 8,700 ล้านบาท
มีรายได้รวม 830 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท หรือประมาณ 12% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้าเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน ลดลง 380 ล้านบาท หรือคิดเป็น 31%
ซึ่งถึงแม้รายได้ลดลงแต่กำไรเพิ่มขึ้นถึง 54% หรือมีกำไรสุทธิ 22 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีกำไรสุทธิ 14 ล้านบาท และยังมีการลงนามในสัญญาโครงการใหม่รวมมูลค่ากว่า 900 ล้านบาท ส่งผลให้มีงานคงค้างอยู่ที่ประมาณ 3,900 ล้านบาท
มีรายได้รวม 157 ล้านบาท เป็นรายได้จากการบริการ Airtime เพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าและเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า รายได้เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท หรือคิดเป็น 47%
ส่งผลให้ SDC พลิกกลับมามีกำไร 27 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ขณะที่ภาพรวม 3 ไตรมาส ขาดทุนลดลงเหลือเพียง 8 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีมูลค่างานคงค้างอยู่ที่ประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท