โบรกฉายภาพปี 68 กลุ่มแบงก์สินเชื่อโต 3.1% หนุนกำไรแตะ 2.7 แสนล้าน

29 ธ.ค. 2567 | 07:38 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ธ.ค. 2567 | 07:38 น.

กูรูคาดสินเชื่อปี 68 เติบโต 3.1% เป็นไปในทิศทางเดียวกับ GDP ไทย หนุนกำไรสุทธิโต 2.4% แตะ 2.7 แสนล้าน ขณะที่ไตรมาส 4/67 กำไรเริ่มโตจำกัด จากรายได้ดอกเบี้ยรับที่ถูกกดดัน แม้บางส่วนถูกชดเชยจากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง พร้อมมอง KTB BBL KBANK ติดโผ

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บล.เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า ทางฝ่ายประเมินกำไรสุทธิกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (แบงก์) (8 ธนาคาร) ปี68 คาดไว้ที่ 2.4 แสนล้านบาท เติบโต 2.7% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แม้รายได้ถูกกดดันทำให้ขยายตัวเพียง 1% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ต่ำกว่าสมมติฐานสินเชื่อเพิ่ม 3% จากเทียบช่วงเดัยวกันในปีก่อน จากการรับรู้ผลกระทบของการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรอบ ต.ค. เต็มปี (สมมติฐานฝ่าย วิจัยอยู่บนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยที่ 2.25%)

ประกอบกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็น Stage 2 และ NPL (พักดอกเบี้ย 3 ปี และลดการผ่อนชำระเงินต้น ในปี ที่ 1-3 จ่าย 50% / 70% / 90% ตามลำดับ) ซึ่งอาจส่งผลต่อ NIM ขึ้นอยู่กับมูลหนี้ที่เข้าร่วม มาตรการ ทั้งนี้ การกลัมมาชำระคืนหนี้ของมูลหนี้ Stage 2 และ NPL ช่วยให้ สำรอง (ECL) ที่เคยตั้งให้กับมูลหนี้ดังกล่าว ถูก reverse ออกมา ตามการชำระคืนเงินต้นของลูกหนี้

โดยค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ การตั้ง ECL สำหรับ Stage 2 และ NPL อยู่ที่ ประมาณ 30% และ 58% ของมูลหนี้ ตามลำดับ ส่งผลให้ภาพรวมประเมินมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รอบนี้ น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ระดับ ECL ในปี 68 มีพัฒนาการ กว่าปี 67 นี้ แต่อย่างไรก็ดี สมมติฐานฝ่ายวิจัยยังไม่ได้รวมผลจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

สินเชื่อปี 68 โต 3.1% ตาม GDP ไทย

ด้านสินเชื่อกลุ่มแบงก์ ปี 68 คาดการณ์ว่าจะเติบโต 3.1% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน เป็นไปในทิศทางเดียวกับ GDP ไทย ซึ่ง ธปท. คาดเพิ่มขึ้น 2.9% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ปัจจัยหนุนจากการลงทุน ภาครัฐ ที่ขยายตัว 5.1% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และการลงทุนภาคเอกชน ที่คาดเติบโต 2.2% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ซึ่งภาพดังกล่าว ประเมินบวกต่อ BBL, KBANK ที่มีสัดส่วนลูกค้าสินเชื่อธุรกิจสูง และ KTB ในส่วนของสินเชื่อรัฐบาล

สำหรับสินเชื่อสุทธิกลุ่มธนาคาร ณ สิ้นเดือนพ.ย. 67 พลิกกลับมาเติบโตจากเดือนก่อน ครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ระดับ 0.6% จากเดือนก่อน เพิ่มขึ้น 0.4% นับตั้งแต่ต้นไตรมาสถึงปัจจุบัน แต่ลดลง 1.5% จากเทียบช่วงเดัยวกันในปีก่อน และ 1.8% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน

หนุนด้วยการเบิกใช้สินเชื่อของรายใหญ่และรัฐบาล โดยหากเทียบรายตัว พบว่า BBL, KTB และ KBANK ขยายตัวเด่นกว่ากลุ่มฯ ส่วน BAY, TISCO และ TTB รายงานสินเชื่อทรงตัว ในทางตรงข้าม KKP และ SCB มีสินเชื่อลดลง

แม้การเติบโตของกำไรปี 68 ไม่เด่น เพราะส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ของ ธ.พ. ใหญ่ถูกกดดันจากการ ลดดอกเบี้ย แต่กลุ่มฯ ยังคงมีจุดเด่นที่ปันผล (Div yield) เฉลี่ยราว 6% โดยเลือก KTB และ BBL จากแนวโน้มสินเชื่อมีแรงส่งจากการลงทุนภาครัฐและเอกชน รวมถึง Coverage ratio ที่ 179% และ 267% ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 174%) คาดทำให้ความจำเป็นในการตั้ง ECL ในระดับสูงดังที่ผ่านมาน้อยลง ซึ่งชอบทั้งคู่มากกว่า KBANK (Coverage ratio ราว 139%) ส่วนกลุ่ม ธ.พ. ที่ให้ Div yield สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ชอบ TISCO / SCB มากกว่า TTB และ KKP

แม้สินเชื่อกลุ่มแบงก์นับตั้งแต่ต้นปี 67 จนถึงปัจจุบันยังท้าทาย เมื่อเทียบกับสมมติฐานทั้งปีฝ่ายวิจัยที่คาดไว้ เติบโต 1% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน แต่สัญญาณที่ดีขึ้นในเดือนนี้ จึงคาดหวังแรงส่งในช่วง ธ.ค. ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงขึ้นช่วงท้ายปี ทั้งนี้ ภายใต้การวิเคราะห์ความไว (Sensitivity analysis) พบว่า ทุก 1% ของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น (ลดลง) จะส่งผลต่อกำไรสุทธิราว 1% จึงมองว่า Downside จากฝั่งสินเชื่อไม่ได้มีนัยฯ ต่อประมาณการกำไร

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มแบงก์ในไตรมาส 4/67 ลดจากไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน หลักๆ มาจาก OPEX ของ ธ.พ. ใหญ่ เร่งตัวตามฤดูกาลและฝั่งรายได้ NIM รับผลกระทบจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ช่วงเดือนต.ค. 67

ด้านต้นทุนความเสี่ยงจากการให้สินเชื่อ (Credit Cost) คาดทรงตัวจากไตรมาสก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งหากเทียบกำไรเชิงจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ประเมินว่า KTB มีอัตราการเติบโตสูงกว่ากลุ่มแบงก์จากฐานกำไรต่ำไตรมาส 4/66

ทั้งนี้ กำไรสุทธิกลุ่มแบงก์ในช่วง 9 เดือนแรกปี 67 ที่ 1.87 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน คิดเป็น สัดส่วน 79.5% ของประมาณการกำไรทั้งปีที่ราว 2.3 แสนล้านบาท เพิ่ม 2.8% จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ประเมิน Downside ค่อนข้างจำกัดและสอดคล้องกับมุมมองในไตรมาส 4/67 ข้างต้น

สำหรับทิศทาง NPL / Loan กลุ่มแบงก์ ณ สิ้นไตรมาส 4/67 อยู่ในระดับบริหารจัดการได้ ทั้งจากการแปลงหนี้ THAI เป็นทุนของ BBL, KTB ประกอบกับฐานสินเชื่อซึ่งเป็นตัวฐานในการคำนวณ NPL กลับมาเติบโต คาดประคอง NPL กลุ่มแบงก์ให้อยู่ในระดับที่ไม่แตกต่างจาก ณ สิ้นไตรมาส 3/67 ที่ 3.8% (สิ้นปี 66 ที่ 3.5%)

จากปัจจัยข้างต้นที่กล่าวมา ส่งผลให้ทางฝ่ายคงน้ำหนักเท่าตลาด แม้การเติบโตของกำไรปีหน้าไม่เด่น แต่กลุ่มแบงก์ยังคงมีจุดเด่น ที่ Div yield ราว6% รวมถึง ธ.พ. ที่ยังไม่ได้ยกระดับนโยบายเงินปันผล (Dividend payout ratio : DPR) ในช่วงที่ผ่านมาอย่าง BBL, KBANK และ KTB ในการประชุม นักวิเคราะห์รอบไตรมาส 3/67 ล้วนส่งสัญญาณเพิ่ม DPR หากเกิดขึ้น มองว่าเป็นเรื่องดีต่อผู้ถือหุ้นธนาคาร

โดยคงให้คำแนะนำ Outperform แก่ KTB และ BBLจากแนวโน้มสินเชื่อมีแรงส่งจาก การลงทุนภาครัฐและเอกชน รวมถึงทั้งคู่มี Coverage ratio ที่ 179% และ 267% ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ที่ 174%) คาดทำให้ความจำเป็นในการตั้ง ECL ในระดับสูงดังที่ผ่านมาน้อยลง สนับสนุนการขยายตัวของกำไรระยะถัดไป ซึ่งชอบทั้ง คู่มากกว่า KBANK ที่มี Coverage ratio ราว 139% ส่วนกลุ่มแบงก์ที่ให้ Div yield สูงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มฯ ชอบ TISCO และ SCB มากกว่า TTB และ KKP เป็นไปตามระดับ Div Yield

*สัญญาณสินเชื่อขยายตัว

บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์กลุ่มแบงก์ว่า ภาพรวมสินเชื่อเดือน พ.ย. 67 ปรับเพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน จากสินเชื่อองค์กรเติบโต โดยธนาคารที่รายงานสินเชื่อเติบโตจากเดือนก่อน นำโดย BBL, KTB และ KBANK ในทางกลับกันธนาคารที่รายงานสินเชื่อลดลงจากเดือนก่อน ได้แก่ KKP และ SCB ส่วน TTB และ TISCO รายงานสินเชื่อทรงตัวจากเดือนที่แล้ว

ทางฝ่ายคาดความต้องการใช้สินเชื่อจะเติบโตต่อเนื่องในเดือนธ.ค. จากแนวโน้มความต้องการใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว ทำให้ประเมินว่าสินเชื่อของกลุ่มธนาคารยังสอดคล้องกับประมาณการของทางฝ่ายในปี 67 นี้

ในเบื้องต้นจากการคำนวณของทางฝ่ายคาดว่ากำไรสุทธิสำหรับเดือนต.ค. และเดือนพ.ย. 67 ของกลุ่มแบงก์ จะอยู่ที่ราว 3.3 หมื่นล้านบาท ลดลง 4% จากเทียบช่วงเดัยวกันในปีก่อน กดดันจากกำไรสุทธิของ KTB, KBANK, TISCO และ BBL ปรับลดลงจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน

ในทางกลับกันคาดกำไรสุทธิของ TTB และ KKP จะปรับเพิ่มขึ้นจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน ส่วนกำไรสุทธิในเดือนต.ค. และ พ.ย. ของ SCB จะทรงตัวจากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน

*กำไรโตกรอบจำกัด

ด้าน บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) เผยมุมมองต่อหุ้นกลุ่มแบงก์ว่า ฝ่ายวิจัยคาดการณ์สินเชื่อเดือน พ.ย. 67 โต 0.6% จากเดือนก่อน โดยธนาคารที่สินเชื่อโตดีกว่ากลุ่มคือ BBL และ KTB หนุนจากสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่อโครงการรัฐฯ ที่ขยายตัวดี

ขณะที่ธนาคารขนาดกลางและเล็ก ยังเป็นภาพเดิม คือถูกกดดันจากยอดขายรถยนต์มือหนึ่งที่ชะลอ สำหรับแนวโน้มกำไรไตรมาส 4/67 คาดโต จากเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และลดลงจากไตรมาสก่อน เพราะรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลง และมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานสูงขึ้น

หากมองไปขางหน้า ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารเท่ากันตลาด เนื่องจากการเติบโตของกำไรเริ่มจำกัดจากรายได้ดอกเบี้ยรับที่ถูกกดดัน แต่บางส่วนยังถูกชดเชยได้ด้วยการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง และมองว่ายังเป็นกลุ่มที่ให้ Div. Yield สูง

สำหรับหุ้นที่เป็น Top Pick แนะนำ KBANK ราคาเป้าหมาย 175 บาท จากคาดการตั้งสำรองจะเริ่มผ่อนคลายลงต่อเนื่องจนถึงปี 68 และเป็นธนาคารเดียวที่ได้อานิสงค์บวกจากการปรับใช้ TFRS17 ในธุรกิจประกันชีวิต (KBANK ถือหุ้นใน MTL 51%) และคาดให้ปันผลครึ่งหลังปี 67 หุ้นละ 5.5 บาท คิดเป็น Div.Yield 3.7%