สรุป “ช้อปดีมีคืน” เงื่อนไขลดหย่อนภาษี 3 หมื่น อย่างเป็นทางการ เช็กที่นี่

12 ต.ค. 2563 | 09:03 น.

​​​​​​​สรุปมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” อย่างเป็นทางการ หลัง ครม. อนุมัติ ใช้สิทธิ์เมื่อไหร่ ซื้ออะไรได้บ้าง เงื่อนไขหักลดหย่อนภาษี 30,000 บาทเป็นอย่างไร กลุ่มไหน ไม่ได้สิทธิ์ รวมถึงผลต่อเศรษฐกิจ แบบเข้าใจง่ายๆ

กรณีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนผู้ประกอบการ รวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่นที่เป็นเศรษฐกิจระดับฐานรากและส่งเสริมการอ่านอันเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ฐานเศรษฐกิจ จึง ได้สรุปสาระสำคัญมาตรการ “ช้อปดีมีคืน” เพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆดังนี้

 

ระยะเวลาดำเนินมาตรการ “ช้อปดีมีคืน”

  • ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563

 

เงื่อนไขมาตรการ “ช้อปดีมีคืน”

  • ผู้ที่จะได้รับสิทธิ์เป็นผู้มีเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงค่าซื้อหนังสือและค่าบริการหนังสือที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชน
  • นำใบเสร็จมาหักลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2563 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง รวมแล้วไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

สินค้าที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์

  • ค่าสุรา เบียร์ และไวน์
  • ค่ายาสูบ
  • ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
  • ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ 5
  • ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารและค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยว
  • ค่าที่พักในโรงแรม

 

กลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ์ มาตรการ “ช้อปดีมีคืน”

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
  • ผู้ที่ได้สิทธิ์ตามโครงการคนละครึ่ง หรือโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากมาตรการ “ช้อปดีมีคืน”

  • กระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในประเทศในช่วงปลายปี 2563 คาดว่าจะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นประมาณ 111,000 ล้านบาท
  • ส่งผลให้ GDP เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.30
  • ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ช่วยขยายฐานภาษี
  • ส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐในระยะยาว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง