รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha) โดยมีข้อความว่า สิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่ง!!!
ในขณะที่เราดีใจที่พบว่า คนจำนวนมาก ในจังหวัดที่มีโรงงานและแรงงานหนาแน่น มีภูมิคุ้มกัน เกิดขึ้น
1.ขณะที่เกิดภูมิคุ้มกันนั้นแม้ว่าจะมีระดับการยับยั้งไวรัสได้สูงกว่า 70% หรือแม้ว่าจะถึงเกือบ 90% ก็ตาม ณ ขณะนั้น ยังสามารถแพร่เชื้อได้ และเชื้อยังมีปริมาณสูงอยู่
ทั้งนี้เป็นข้อมูลจากคนติดเชื้อทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการที่ทำการตรวจ ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาสภากาชาดไทย
2.และจากการที่ยังแพร่เชื้อได้ โดยคิดว่าตนเองมีภูมิแล้วและปลอดภัย จะทำให้ขาดความระวังตัว รวมทั้งแพร่เชื้อให้คนอื่นต่อได้ ในช่วงเวลา 14-21 วันนั้น ทำให้เชื่อมต่อเป็นระลอกไปเรื่อยๆ และคนที่รับเชื้อใหม่ แม้ไม่มีอาการก็ปล่อยเชื้อไปได้อีก 14-21 วัน หรือนานกว่า แม้ว่า 10 วันแรก จะแพร่ได้เก่งที่สุดก็ตาม
3.ลักษณะของการแพร่ไปเรื่อยๆ แม้ว่าไม่ทำให้เกิดอาการ กลับเปิดโอกาสให้ไวรัสมีการปรับตัวพัฒนาขึ้น และในที่สุดแล้วจะเริ่มเห็นคนที่ติดเชื้อและมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ
ตัวอย่าง ชัดเจน ดังในประเทศบราซิลที่มีการระบาดและดูเหมือนสงบในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 แต่แล้วมีการปะทุระบาดใหม่ตั้งแต่ปลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบันจากการเกิดสายพันธุ์ใหม่ ประเทศฟิลิปปินส์เช่นเดียวกันและประเทศอินเดียเป็นต้น
จากความเปลี่ยนแปลงของไวรัส ทำให้ดื้อต่อภูมิที่เคยมีอยู่จากการที่เคยติดเชื้อเดิมจากตัวเก่า และแม้แต่วัคซีนที่ออกแบบโดยอิงกับตัวเก่า
4.ลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมของไวรัสจะไม่ได้หยุดนิ่งอยู่ตามที่มีการรายงาน แต่จะไหลไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีตำแหน่งที่เหมาะสมที่ทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้นและดื้อต่อกระบวนการป้องกันของร่างกายเก่งขึ้น
โดยมีระดับความน่ากลัวตั้งแต่เป็น variants of interest โดยยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนแต่เริ่มจับตาVariants of concern ที่เรารู้จักกันดีของอังกฤษ ญี่ปุ่น บราซิลและแอฟริกา แคลิฟอร์เนีย จนกระทั่งฟิลิปปินส์และอินเดีย เป็นต้น Variants of high consequence โดยจะดื้อทั้งต่อวัคซีนและยาที่ใช้รักษาทั้งหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :