16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

13 พ.ค. 2564 | 03:50 น.

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา บทสรุปจากผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ 3 สถาบัน

รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า 16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

สรุปความจาก "ผ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ 3 สถาบัน" โดยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จาก 3 สถาบันการแพทย์ชั้นนำของประเทศ ไม่เชื่อก็ไม่รู้จะเชื่อใครแล้วครับ อยากให้อ่านกันครับ......(เครดิต Rama Channel)

สำหรับรายละเอียด ประกอบด้วย

              16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

สรุปความจาก "ฝ่าวัคซีน COVID-19 ฟังชัด ๆ กับ 3 สถาบัน" ทาง Facebook: รามาแซนแนล Rama Channel

#ศิริราช ศ. พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยคลินิก ,รศ. นพ.วินัย รัตนสุวรรณ หัวหน้าภาควิชา เวชศาสตร์ป้องกัน และสังคม

#จุฬาฯ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้าน ไวรัสวิทยาคลินิก ,รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ รองหัวหน้าภาควิชา กุมารเวชศาสตร์

#รามาฯ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคม โรคติดเชื้อ แห่งประเทศไทย ,ศ.นพ.พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ สาขาวิชาโลหิตวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์

เขาว่าฉีดแล้วตาย?

ในประเทศไทยมี 1.7 ล้านคน ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังไม่มีคนตาย แต่มีคนตายจากโควิด-19 ทุกวัน

ผลข้างเคียง อาการเป็นอย่างไร?
              ผลข้างเคียงที่เป็นอาการแพ้จริง ๆ มีเพียง 1 ในแสน ส่วน ไข้ต่ำ ๆ ปวด บวม แดง ร้อน มีรายงานไม่ถึง 10% มีไข้ เป็นอาการปกติ แสดงว่าร่างกายกำลังมีปฏิกิริยา ตอบสนองต่อวัคซีน

ฉีด ไม่ฉีด หรือรอ?
              ฉีดเลย ฉีดแล้วโอกาสติดลดลงครึ่งหนึ่งทันที และช่วยป้องกันคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน
              ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันจริงไหม?

การฉีดไม่ได้เพิ่มปรากฎการณ์การเกิดลิ่มเลือดทั่วไป แต่เป็นชนิดพิเศษ พบน้อยมาก พบในเพศหญิงอายุน้อย ยังไม่พบในคนไทย และรักษาได้ แต่ถ้าติดโควิดโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันมีมากกว่า

วัคซีนยี่ห้อไหนดีกว่ากัน?

ทุกยี่ห้อประสิทธิภาพในภาพรวมไม่ต่างกัน ที่ต้องมีหลายยี่ห้อไม่ใช่เพื่อแข่งกัน แต่เพื่อจะได้ช่วยกันระดมฉีดทุกตัวที่มีให้ครอบคลุมประชากรมากที่สุด อิสราเอล อเมริกา อังกฤษ จีน ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน แต่กลับสู่ภาวะปกติได้ เหมือนกัน (ฝรั่งเศสใช้ตัวเดียวกับอังกฤษแต่ขณะนี้ยังวิกฤต เพราะฉีดได้น้อย)
              มีอาการชาครึ่งตัวหลังฉีดจริงไหม?

อาการชาหรืออ่อนแรงครึ่งตัวเกิดได้ เป็นอาการชั่วคราว อาจเกิดจากร่ายกายไม่พร้อม อ่อนเพลีย หรือกลัว หายเป็นปกติได้ใน 1-3 วัน หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์

ป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ได้?

ได้ ไวรัสกลายพันธุ์บางตัวทำให้ประสิทธิภาพ ลดลง แต่ลดลงแปลว่ายังมีประสิทธิภาพอยู่

ต่างวัย ผลข้างเคียงต่างไหม?
              ต่าง อายุน้อย พบอาการมากกว่า กรณีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว การฉีดวัคซีนไม่ได้ทำให้มีผลข้างเคียงมากขึ้นแต่ถ้าติดเชื้ออาการจะรุนแรง ดังนั้น ต้องรีบมาฉีด

เข็ม 1 กับเข็ม 2 คนละยี่ห้อ?
              ทำได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีหมอเห็นว่าจำเป็น ตอนนี้เมื่อฉีดเข็มแรกระบบุจะจองเวลา/สถานที่ สำหรับฉีดเข็ม 2 ให้ทันที ยิ่งเปลี่ยนจะยิ่งช้า

วัคซีนต่างยี่ห้อ ผลข้างเคียงต่างไหม?

ต่าง แอสตร้าเซนเนกา (AstraZeneca) ผลข้างเคียงทำให้มีไข้ ปวดเมื่อย แต่มีประสิทธิภาพสูงตั้งแต่เข็มแรก ซิโนแวค (Sinovac) เป็นวัคซีน "เชื้อตาย" ผลข้างเคียงน้อย แต่ต้องฉีดครบ 2 เข็มจึงจะมีภูมิคุ้มกันเต็มที่
              โอกาสเกิดคลัสเตอร์ใหม่?
              สถานการณ์ตอนนี้เป็นสัญญาณเตือนว่า การระบาดเกิดได้ทุกชุมชน ถ้าไม่อยากเป็นคลัสเตอร์ใหม่ ต้องรีบฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด

กรณีพบอาการข้างเคียงหลังฉีด?

ณ จุดฉีดวัคซีนทุกจุดจะมี จนท. และอุปกรณ์พร้อมดูแล ตามมาตรฐาน หลังฉีดจะต้องอยู่ดูอาการ 30 นาที ถ้ามีอาการข้างเคียงสามารถแก้ไขและส่งต่อได้ทันที

เมื่อใดจะกลับสู่ภาวะปกติ?

ยิ่งฉีดวัคซีนได้ครอบคลุ้มมาก ยิ่งกลับสู่ภาวะปกติได้เร็ว เราต้องฉีด 100 ล้านโดส ถ้าได้วันละ 3 แสน ต้องใช้เวลา 10 เดือน ถ้าจะปลดล็อกภายในสิ้นปีต้องร่วมมือกันฉีดให้เร็วกว่านั้น

ทำไมให้คนแก่ฉีดซิโนแวค?

ก่อนหน้านี้ เดิมไม่ได้ห้าม แต่ข้อมูลยังไม่เพียงพอจะแนะนำให้ใช้ในคนสูงอายุ แต่ตอนนี้มีข้อมูลที่ยืนยันว่าปลอดภัยแล้วจึงให้ใช้ได้ แต่ไม่ได้บังคับว่าผู้สูงอายุทุกคนจะต้องใช้

หมอพร้อมแค่ไหน?
              หมอพร้อมแล้ว มิถุนายนนี้ ถ้าวัคซีนพร้อม คนที่ต้องรับวัคซีนพร้อม ฉีดได้ทันที

ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีด?

1) กำลังเจ็บป่วยเฉียบพลัน 2) มีโรคประจำตัวสำคัญที่ยังควบคุมได้ไม่ดี เช่น โรคหัวใจที่มีภาวะหัวใจวาย ต้องให้แพทย์ประจำตัวประเงิน 3) หญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา

16 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากหมอศิริราช-จุฬา-รามา