เเนะ ศธ.ใช้เวลาก่อนเปิดเทอมปฎิรูปการศึกษาช่วงโควิด

20 พ.ค. 2564 | 06:37 น.

หลังมีการเลื่อนเปิดเทอมไปเป็นวันที่ 14 มิ.ย.64 รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เเนะ ศธ.ใช้เวลาก่อนที่จะเปิดเทอมปฎิรูปการศึกษาช่วงโควิด

หลังจากมีการออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เลื่อนเปิดเทอม หรือ การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการลงนามโดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

โดยบนโลกออนไลน์ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณเป็นจำนวนมาก ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเห็นด้วยเพราะเป็นห่วง กลัวว่าเด็กนักเรียนจะติดเชื้อโควิด 
 

เเนะ ศธ.ใช้เวลาก่อนเปิดเทอมปฎิรูปการศึกษาช่วงโควิด

 

สำหรับประกาศกําหนดแนวปฏิบัติการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา2564 

1. ให้โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการเลื่อนการเปิด ภาคเรียนที่ 1 ประจําปีการศึกษา 2564 เป็นวันที่ 14 มิถุนายน 2564

2. โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งใดมีความพร้อม และประสงค์จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจําปี การศึกษา 2564 ก่อนวันที่กําหนดตามข้อ 1 ให้โรงเรียนหรือสถานศึกษาแห่งนั้นดําเนินการ 

1.โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จัดการเรียนการสอนการศึกษาทางไกล (On Air, Online, On Demand, On Hand ผ่านทางไปรษณีย์) เท่านั้น

2. โรงเรียนหรือสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) หรือพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้ง ๕ รูปแบบ 

•    On Site
•    On Air
•    Online
•    On Hand
•    On Demand 

เฉพาะรูปแบบ On Site นั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องผ่านเกณฑ์การประเมินความพร้อมของระบบ Thai Stop Covid + (TSC +) และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดก่อนทั้งนี้ โรงเรียนและสถานศึกษาในสังกัดและในกํากับของกระทรวงศึกษาธิการต้องปฏิบัติตาม มาตรการของกระทรวงสาธารณสุขโดยเคร่งครัด

นับจากวันนี้อีกเกือบ 25 วัน กว่าจะถึงวันเปิดเทอมในวันที่ 14 มิถุนายน ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง 

"ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ การวิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การเลื่อนเปิดเทอมเป็นเรื่องที่ดีถ้ากระทรวงศึกษาธิการสามารถใช้ช่วงเวลาหลังจากกนี้จนถึงวันเปิดเทอมตามกำหนดให้เป็นประโยชน์ 
 

เเนะ ศธ.ใช้เวลาก่อนเปิดเทอมปฎิรูปการศึกษาช่วงโควิด

“ถ้าใช้โอกาสก่อนจะเปิดเทอมตามกำหนดนี้ให้เป็นประโยชน์โดยเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้ได้ ซึ่งต้องชัดเจน ไม่ใช่เป็นแบบเว็บไซต์ครูพร้อมที่มีขีดจำกัด ผมลองเข้าไปดูแล้วพบว่ามีเนื้อหาถูกแขวนไว้ 578 เรื่อง เท่านั้น เรื่องที่จะช่วยครูมี แค่ 9 เรื่อง ไม่ได้มีการจัดระบบ นี่ไม่ใช่การเรียนออนไลน์นี้มันเป็นเเสริมการเรียน ถ้าเด็กเก่งๆ ค้นหาข้อมูลในกู เกิ้ลได้มากกว่า 578 เรื่องด้วยซ้ำ แต่อันนี้ไม่ว่ากันเพราะก็ยังมีความพยายาม การเรียนออนไลน์คือ ครูต้องอัดคลิปบรรยาย เนื้อหาสาระในวิชานั้นๆ แล้วเอาคลิปให้นักเรียนได้ฟังล่วงหน้าพอฟังเสร็จ เราก็จัดการเรียนการสอนแบบครึ่งชั้น พอนักเรียนมาโรงเรียน ครูก็ไม่ต้องมาพูดเนื้อหาซ้ำแล้ว ให้เป็นการทดสอบนักเรียนว่าเข้า โดยการตั้งโจทย์ให้แก้ และให้ เพื่อนๆในชั้นเรียนมีส่วนร่วม ชั่วโมงการเรียนก็จะเป็นรูปแบบคิดร่วมกันแก้โจทย์ ซึ่งมีน้อยมากที่เกิดขึ้นในประเทศไทย”  

นอกจากนี้ ศ.ดร.กนก ยังเสนอว่า กระทรวงศึกษาธิการควรเปิดวอร์รูมเพื่อรับความเห็นหรือฟีดแบ็คจากโรงเรียนทั่วประเทศ 

“เลื่อนเปิดเทอมออกไป 14 วัน เรามีเวลามากขึ้นกระทรวงศึกษาธิการจะใช้ประโยชน์อย่างไร หรือจะรอวันเลื่อนเปิดเทอมใหม่ไปเรื่อยๆ  ผมเสนอว่าให้เปิดวอร์รูมที่กระทรวงฯ รับจะฟีดแบคจากโรงเรียนทั่วประเทศ มอนิเตอร์ทุกโรงเรียน ว่ามีที่ไหนเจอปัญหา ก็ส่งเข้ามาที่กระทรวง แล้วก็ช่วยโรงเรียนเหล่านั้น โรงเรียนก็จะชื่นใจ ไม่ใช่เอาแต่สั่ง จะทำได้ไม่ได้เรื่องของคุณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการต้องลุกขึ้นมายืนข้างโรงเรียน  อีกเรื่องคือเว็บไซต์ครูพร้อมที่มีอยู่จัดระเบียบให้ดี ถ้า 14 วันทำได้แบบนี้มีความหวัง  ถือว่าเป็น 14 วัน ของการเปลี่ยนแปลงของกระทรวงฯ และถ้าเดินหน้าเรื่องเรียนออนไลน์ด้วย เชื่อว่าการปฎิรูปการศึกษาจะเกิดขึ้น”
 

นักวิชาการหลายท่านบอกว่า เราอาจต้องอยู่กับโควิดไปอีกนาน นั่นหมายความว่าเราต้องต้องปรับตัวทั้งการใช้ชีวิต และการจัดการศึกษาไทยให้เกิด New Normal อย่างการเรียนออนไลน์ ซึ่งไม่ใช่แค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอด และสิ่งที่สำคัญ ก็คือการพัฒนาการเรียนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ โดยพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับผู้สอน เสมือน  หรือดีกว่าการเรียนในชั้นเรียน 

“วันนี้เราไม่ค่อยพูดกันว่า New Normal เรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการต้องชัดเจนคือพอหลังจากโควิดหมดไปถ้าเรากลับมาเรียน มาสอนแบบเดิมก็จบ เรื่องเรียนออนไลน์ที่ผ่านมา ผมของพูดตามตรงมันใช้ไม่ได้ ถ้าทำแบบที่ผมพูดพ่อแม่จะบอกว่าโอเค ที่ผ่านมาไม่ใช่วิธีการสอนที่ถูกต้อง ออนไลน์ต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพ”

แน่นอนว่าการระบาดของโควิดทำให้เกิดแผลด้านเศรษฐกิจ สังคม กลุ่มต่างๆ ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น ครอบครัวที่มีผู้สูง คนพิการ เด็กเล็ก เเละยากจน  บาดแผลที่เกิดขึ้นก็เป็นเรื่องต้องขบคิดกันว่าจะทำอย่างไรที่จะป้องกันและให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้

แต่ไม่ได้มีแค่แผลเดียวยังมีสิ่งที่ได้รับผลกระทบมานาน ก็คือแผลด้านการศึกษา หลายอย่างเป็นเรื่องของการจัดการ หลายอย่างเป็นเรื่องของการปรับตัว แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่งได้สร้างอัตราเร่งในการปฏิรูปการศึกษาเช่นกัน 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง