รายงานข่าวระบุว่า พล.อ.ท.อนุตตร จิตตินันทน์ (หมออนุตตร) ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (Anutra Chittinandana) โดยมีข้อความว่า
กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พิจารณาเรื่องนี้กันทั้งวัน ก่อนออกประกาศแถลงจุดยืน (position statement) เรื่องวัคซีนโควิด-19 ฉบับที่ 3
สำหรับเนื้อหาในประกาศนั้น ระบข้อความดังนี้
เรื่อง วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 3)
เป็นที่ประจักษ์ว่าบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานอย่างหนักจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีการระบาดเป็นวงกว้าง ภายใต้ความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และมีบางรายเสียชีวิต รวมทั้งต้องมีการกักตัวบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสไกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการรักษาพยาบาลทั้งระบบ
นอกจากนี้มีการระบาดในบุคลากรและผู้ป่วยในพื้นที่โรงพยาบาลหลายแห่ง โดยเฉพาะเมื่อมีการระบาดของเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว
บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ที่ทำงานดูแลผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง ได้รับการฉีดวัดซีนเชื้อตาย ซึ่งยังขาดข้อมูลการป้องกันโควิด-19 รามทั้งข้อมูลการป้องกันอาการหนักหรือเสียชีวิตจากโควิด 19 ที่เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา
กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงมีมติแถลงจุดยืน (position statement) เรื่อง วัคชีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ฉบับที่ 3 ดังนี้
1.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนให้ใช้วัคซีนที่มีข้อมูลประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเชื้อกลายพันธุ์กับบุคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอในการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องทำหน้าที่อย่างหนักและต่อเนื่องในการดูแสรักษาผู้ป่วยโควิด-19
2.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลทางวิชาการล่าสุดมาใช้ในการพิจารณาการจัดหาและกระจายวัคซีน เพื่อปรับปรุงการดำเนินการให้ต่อเนื่องและทันเวลา เนื่องจากข้อมูลของวัคซีนมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
3.ราชวิทยาสัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนโดยเร็วที่สุด ทั้งที่รัฐบาลจัดหามาให้และวัคซีนทางเลือก แต่ยังต้องให้ความสำคัญของมาตรการการป้องกันโรคอื่น ๆ ได้แก่ งดเว้นกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่ม การเว้นระยะห่าง ล้างมือ และใส่หน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัดถึงแม้ได้รับวัคซีนแล้ว
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมตัวเลขสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 6 กรกฏาคม 2564 จากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือศบค. พบว่า มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 5,420 ราย มาจาก ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 5,383 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 37 ราย ผู้ป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 265,790 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 57 ราย หายป่วยเพิ่ม 3,586 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) 199,597 ราย