อีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด หลายคนคงเคยได้ได้ยินคำว่า โมโนโคนอแอนติบอดี มาบ้างแล้ว มีความเกี่ยวข้องอะไรกับโควิดอย่างไร วันนี้เรามาทำความเข้าใจง่าย ๆ กัน
เมื่อร่างกายติดเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมเข้า ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีเพื่อใช้เป็นอาวุธในการต่อสู้กับเชื้อโรค โดยจะจดจำหน้าตาของเชื้อโรคนั้น
เช่นเดียวกับการติดเชื้อโควิด เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแอนติบอดีจะจดจำหน้าตาของไวรัสและทำการกำจัดแต่แอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นไม่ได้มีความจำเพาะต่อไวรัสทั้งหมด จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับไวรัสได้อย่างเต็มที่และทันเวลา
ยาโมโนโคนอแอนติบอดี แตกต่างจากวัคซีนและยารักษาอื่นยังไง
1.ยาโมโนโคนอแอนติบอดี ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นทำให้ร่างกายผู้ติดเชื้อสามารถต่อสู้กับไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ยับยั้งการติดเชื้อได้ ส่วนวัคซีนโควิดจะใช้กับผู้ที่ยังไม่ได้รับเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อในอนาคต
2.การรักษาด้วยยาที่มีใช้ในปัจจุบันจะทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป เช่น ยาฟ้าทะลายโจร เป็นยาสมุนไพรทางเลือกใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการไข้และเจ็บคอในผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงได้ ยาฟาวิพิราเวียร์เป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่ที่ออกฤทธิ์กว้างจึงใช้ได้กับเชื้อไวรัสอื่นๆ รวมถึงโควิดด้วย
3.ยาแอนติบอดีคอกเทลเป็นยาตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อรักษาโควิด โดยตรงและมีความจำเพาะต่อเชื้อโคโรนาไวรัส
4.ยาแอนติบอดีคอกเทลสามารถทำให้ไวรัสอ่อนกำลังลงโดยตรงเข้าจับกับโปรตีนของส่วนหนาม ซึ่งอยู่บนผิวของไวรัสจึงสามารถยับยั้งการติดเชื้อภายในร่างกายได้ทันที
5.ตัวยายังสามารถยับยั้งไวรัส โควิดสายพันธุ์ต่างๆได้ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลและลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
ยาโมโนโคลนอลแอนติบอดีใช้สำหรับผู้ป่วยระดับไหน
1.ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อโควิดไม่เกิน 10 วัน
2.อาการเล็กน้อยถึงปานกลางและเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้อาการของโรครุนแรง เช่น ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิคุ้มกันบกพร่องและโรคเรื้อรังต่างๆ คนไข้จะได้รับยาโดยบุคลากรทางการแพทย์เป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำครั้งเดียว
ผลข้างเคียงเป็นอย่างไร
ผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น อาการแพ้ ผื่นคัน มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ความดันโลหิตต่ำ
หลังจากที่ได้รับยาแล้วจะมีการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หรืออาการแพ้รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
หากเกิดอาการมักเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งพบได้น้อยมาก
ในขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัดในกลุ่มผู้ป่วยสตรีมีครรภ์ให้นมบุตรและมีอายุต่ำกว่า 12 ปี
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)อนุมัติการใช้ยาแอนติบอดีแบบผสมรักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แบบมีเงื่อนไขภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศ