วันที่ 27 ก.ย.64 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า ในที่ประชุมมีการหารือโดยอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขว่า คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคพูดถึงเรื่องการใช้วัคซีนซิโนฟาร์มสูตรไขว้ โดยอาจจะใช้หลักการเดียวกันกับวัคซีนซิโนแวค ดังนี้
ทั้งนี้การฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มสูตรไขว้ ยังไม่ได้ถูกกำหนดเป็นสูตรหลักของประเทศ การใช้สูตรดังกล่าวจึงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนอนุญาตการใช้วัคซีนโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามความสมัครใจของผู้รับวัคซีน และดุลยพินิจของผู้ให้บริการ
แผนการจัดวัคซีนโควิด ประเทศไทยปี 2564
ที่ประชุมยังได้กล่าวถึงแผนการจัดหาวัคซีนโควิดซึ่งจะเห็นว่าวัคซีนโควิดที่จะเข้ามาทั้งปี 2564 จำนวน 178.2 ล้านโดส
เดือนกันยายน
เดือนตุลาคม
เดือนพฤศจิกายน
เดือนธันวาคม
เป้าหมายการฉีดวัคซีนภายในปี 2564
จัดหาวัคซีนโควิด สำหรับปี 2565
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศบค.กล่าวว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอว่า ประเทศในสหภาพยุโรปพร้อมขายต่อวัคซีนให้ในราคาถูกที่ตำ่กว่าตลาด คือประเทศสเปน ขายแอสตราเซนเนกา 165,000 โดส ในราคาโดสละ 2.9 ยูโร และไฟเซอร์ 2,788,110 ล้านโดส ราคาโดสละ 15.5ยูโร ปรเทศฮังการีขายแอสตราเซนเนกา 4 แสนโดส ราคาโดสละ 1.78 ยูโร โดยมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร่วมด้วยคือ ค่าบรรจุภัณฑ์ และที่ควบคุมอุณหภูมิ ค่าขนส่ง ค่าภาศีศุลกากรขาออก- ขาเข้า ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าประกันความเสียหาย
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า เป้าหมายและแผนการจัดสรรวัคซีนในปี 64 โดยในเดือนตุลาคม ตั้งเป้าฉีดให้ครอบคลุมประชากรทั้งหมด รวมชาวต่างประเทศในประเทศไทย อย่างน้อยร้อยละ50 ทุกจังหวัด และอย่างน้อย 1 อำเภอ ครอบคลุมร้อยละ70 เดือนพฤศจิกายน ครอบคลุมผู้ได้รับเข็ม 1 อย่างน้อยละ 70 รวมถึงกลุ่มอายุ 12-17 ปี และเดือนธันวาคม ครอบคลุมผู้ได้รับเข็ม 1 และเข็ม 2 อย่างน้อยร้อยละ 80 และ 70 ตามลำดับ