ดร.กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ นักวิชาการอาวุโส (เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยในงานสัมมนา Virtual Forum Go Green หัวข้อ GREEN MISSION : ปฏิบัติการไทย สู่สังคมโลว์คาร์บอน ลดโลกร้อน จัดโดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ว่า “คาร์บอนเครดิต" ในมุมของนักเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) ธุรกิจตลาดแบบนี้ จะมีแรงจูงใจ คาร์บอนเครดิตช่วยสร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ระบบ Cap And Trade System
เช่น ในสหภาพยุโรป ธุรกิจมีแรงจูงใจในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับในส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการเพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับในส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่ได้รับอนุญาต
หรือมีรายได้เพิ่มจากการขายคาร์บอนเครดิตในส่วนในส่วนที่ปล่อยต่ำกว่าปริมาณที่ได้รับอนุญาต ภายใต้ Voluntary Carbon Mrkkets ภาคธุรกิจสามารถใช้คาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในการชดเชยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่สามารถลดได้เนื่องจากต้องเผชิญต้นทุนในการลดที่สูงจนเกินไป หรือมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะใช้ วิธีซื้อ ตลาดคาร์บอนออฟเซ็ต แทน เนื่องจากราคาถูกกว่า คุ้มค่ามากกว่า
ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจทั่วโลกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับกระแสที่ภาคธุรกิจประกาศ Corporate Climate Commitment เช่น Carbon Neutrality, Net Zero ฯลฯ
ในระยะสั้น “คาร์บอนเครดิตช่วยทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Decarbonized economy) ง่ายขึ้น เนื่องจากมีการขยายการลงทุนในพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน รวมถึงการลงทุนในทุนทางธรรมชาติ ส่วนในระยะกลางถึงระยะยาว คาร์บอนเครดิตช่วยในการสนับสนุนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ (การปล่อยก๊าซเรือนกระจกติดลบ) โดยให้การสนับสนุนทางการเงินกับการปลูกป่าหรือเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน ( CCUS)
ดร. กรรณิการ์ กล่าวถึงแนวโน้มตลาดคาร์บอนเครดิต สถานะของบริษัทเกี่ยวโยงกับธุรกิจรูปแบบไหน โดยปกติจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ภาคบังคับ ก็คือ กลุ่มธุรกิจเองถูกบีบให้ปล่อยคาร์บอนไม่เกินตามเพดานที่ตามกฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ก็มีหลายประเทศ อย่างที่กลุ่มประเทศอียู กำหนดไว้ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมจะสามารถปล่อยคาร์บอนได้เท่าไร
ดังนั้นเมื่อจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจแบบนี้ก็จะต้องทำให้ค้าเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนเสียค่าปรับ จะใช้วิธีไปซื้อคาร์บอนออฟเซ็ต (ซื้อ “เครดิตของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” จากผู้ประกอบการรายอื่นที่มีเครดิตเหลือมากพอที่จะขายต่อได้) ในราคาที่ถูกกว่าที่ทำได้เอง หรือหากหาซื้อเครดิตไม่ได้ก็ต้องเสียค่าปรับจำนวนมาก
ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการค้าโลก เช่น การดำเนินมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) เป็นทั้งความท้าทายและโอกาส ให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มข้น รวมถึงยกระดับ กลไกในการตรวจวัดและรับรองมาตรฐานการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นที่ ยอมรับในระดับสากล
1. การเสริมสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือในกระบวนการตรวจวัดและรับรอง การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
2. การทำความเข้าใจกับภาคธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ คาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจในการบรรลุ Climate Commitment
3. การพัฒนา Market Infrastructure เพื่อรองรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาค สมัครใจ
4. การลดความไม่แน่นอนด้านนโยบายเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ