โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 511 ราย เสียชีวิต 3 รายไม่มีประวัติรับวัคซีน

12 ต.ค. 2564 | 00:23 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ต.ค. 2564 | 07:23 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ ( 12 ต.ค.) ติดเชื้อรายใหม่ 511 ราย ยอดป่วยสะสมจากคลัสเตอร์ทหารเรือสัตหีบพุ่ง 1,215 ราย ขณะที่ผู้เสียชีวิตทั้ง 3 รายในวันนี้ มีประวัติสัมผัสจากครอบครัว มีโรคประจำตัวและไม่เคยรับวัคซีน

12 ต.ค.64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี  (สสจ.ชลบุรี) อัพเดตสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 511 ราย ยอดสะสม 94,452 ราย รักษาหายเพิ่ม 714 ราย ยอดรักษาหายสะสม 84,336 ราย กำลังรักษาเหลือ 9,463 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 653 ราย

โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 511 ราย เสียชีวิต 3 รายไม่มีประวัติรับวัคซีน

รายละเอียดการติดเชื้อ

1. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือพื้นที่ทหารเรือ อำเภอสัตหีบ 8 ราย สะสม 1,215 ราย
   1.1 ข้าราชการทหารเรือ 6 ราย
   1.2 ทหารเกณฑ์ 2 ราย
2. Cluster บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด อำเภอพานทอง 17 ราย สะสม 17 ราย
3. Cluster บริษัท CSSG (Subcontract บริษัทในอำเภอพานทอง) 12 ราย สะสม 104 ราย
4. Cluster แคมป์คนงาน บริษัท ซี เอ แซด (ประเทศไทย) จำกัด อำเภอศรีราชา 10 ราย สะสม 52 ราย
5. Cluster แคมป์ก่อสร้าง บริษัท อิตาเลี่ยนไทย อำเภอบางละมุง 7 ราย สะสม 7 ราย
6. สถานประกอบการในจังหวัดระยองหลายแห่ง 30 ราย
 

7. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 16 ราย
8. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด 
    8.1 กรุงเทพมหานคร 3 ราย
    8.2 จังหวัดระยอง 1 ราย
9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
     9.1 ในครอบครัว 195 ราย
     9.2 จากสถานที่ทำงาน 70 ราย
     9.3 บุคคลใกล้ชิด 14 ราย
     9.4 ร่วมวงสังสรรค์ 1 ราย
10. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 31 ราย
11. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 96 ราย

ขณะนี้มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในสถานประกอบการ 83 แห่ง และตลาด 5 แห่ง แคมป์คนงานก่อสร้าง 10 แห่ง และชุมชน 4 แห่ง
 

รายละเอียดผู้เสียชีวิต

ผู้เสียชีวิตรายใหม่ทั้ง 3 รายของวันนี้ จำนวน 1 รายเป็นผู้สูงอายุ และอีกจำนวน 2 รายอยู่ในวัยทำงานแต่มีโรคประจำตัว ทั้ง 3 ราย เป็นผู้สัมผัสในครอบครัวของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต  คือการมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไตเรื้อรัง  โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และทุกรายไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น