ฐานเศรษฐกิจ เกาะติดมาตรการคลายล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวล่าสุด ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม เพื่อมีผลบังคับใช้วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นระยะอย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นั้น
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาถือเป็นความท้าทายและเป็นบทพิสูจน์ครั้งสําคัญที่ประเทศไทยได้ข้ามผ่าน อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยอาศัยการประสานความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน พนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ที่ร่วมดําเนินการและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคตามที่ได้กําหนดไว้ ประกอบกับอัตราผู้ได้รับวัคซีนป้องกันโรคที่เพิ่มจํานวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง และผู้เสียชีวิตมีจํานวนลดลงอย่างมีนัยสําคัญ
เหตุดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยส่งผลต่อภาพรวมของสถานการณ์ การระบาดในประเทศไทยที่มีแนวโน้มคลี่คลายไปในทางที่ดี รัฐบาลโดยข้อเสนอของฝ่ายสาธารณสุข จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามระดับพื้นที่สถานการณ์ รวมทั้งปรับเกณฑ์ การพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นและรองรับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับ นักท่องเที่ยว ข้อกําหนดฉบับนี้จึงเป็นการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรค และรวบรวมบรรดามาตรการควบคุมแบบบูรณาการต่าง ๆ ที่ได้ประกาศไว้แล้วในข้อกําหนดฉบับก่อนหน้า โดยจําแนกออกเป็นพื้นที่สถานการณ์ที่แตกต่างลดหลั่นกันตามความรุนแรงของการระบาดของโรค
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังคงเน้นย้ําถึงเจตนารมณ์ที่จะผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่ได้กําหนดไว้ ให้ดําเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้การดําเนินกิจการและกิจกรรมของบุคคลและสถานที่ต่าง ๆ อยู่ภายใต้เงื่อนไขการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรค เพื่อรักษาสมดุลด้านความมั่นคง ทางสาธารณสุขกับการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและฟื้นฟูความเป็นอยู่ของประชาชนให้ใกล้เคียง กับภาวะปกติ
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ ให้ ศบค. มีคําสั่งปรับปรุง เขตพื้นที่จังหวัดจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่ง เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กําหนดไว้สําหรับพื้นที่สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้ มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้
สําหรับจังหวัดที่ได้ปรับระดับเขตพื้นที่สถานการณ์ขึ้นใหม่ตามคําสั่งที่ออกตามข้อกําหนดนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมการด้านบุคลากร สถานที่ และ ประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมเพื่อการดําเนินการตามมาตรการ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการล่วงหน้า
สําหรับพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวจะเป็นไปตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่งศูนย์ บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ ๑๘/๒๕๖๔ เรื่อง พื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวตามข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ข้อ ๒
ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร์โรค ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกัน ของบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสกันที่สามารถแพร่โรคได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับอนุญาต จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกําหนด ปรับปรุงเฉพาะเรื่องจํานวนบุคคลที่เข้ารวมกลุ่มเพื่อทํากิจกรรมจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้
ทั้งนี้ ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทํากิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทําการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยภายในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกําหนด โดยให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) พิจารณามาตรการที่จําเป็นและเหมาะสมของสถานการณ์ ในแต่ละพื้นที่เพื่อการเข้าระงับยับยั้ง การตรวจสอบ การยุติการชุมนุมหรือการทํากิจกรรมหรือการมั่วสุม ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชาชนอื่นทั่วไป โดยให้เร่งรัดการปฏิบัติตามหน้าที่และอํานาจอย่างเข้มข้นเพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ ที่รวดเร็ว
ข้อ ๓
กิจกรรมการรวมกลุ่มของบุคคลที่ได้รับยกเว้น กิจกรรมหรือการรวมกลุ่มของบุคคล ดังต่อไปนี้สามารถจัดได้โดยไม่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๒ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๔
การห้ามออกนอกเคหสถานสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามบุคคลใด ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 23.00 น. ถึง 03.00 น. ของวันรุ่งขึ้น โดยใช้บังคับต่อเนื่องไปสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดทุกจังหวัด เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 วัน (จนถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) และให้การกําหนด เงื่อนไขการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และกรณีของบุคคลที่ได้รับยกเว้นที่ได้ประกาศหรือ ได้อนุญาตไว้ก่อนหน้านี้ยังคงใช้บังคับต่อไป
ข้อ ๕
การปฏิบัติงานนอกสถานที่ สําหรับการปฏิบัติงานนอกสถานที่ทํางานของหน่วยงาน ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวมถึงหน่วยงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้หัวหน้า ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดําเนิน มาตรการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งอย่างเต็มความสามารถที่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติได้ โดยการปฏิบัติงานดังกล่าวต้องไม่กระทบกับภารกิจเพื่อการให้บริการประชาชน โดยให้ ศปก.ศบค. หารือร่วมกับสํานักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกําหนดแนวทางการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และสภาพสถานการณ์ด้วย
สําหรับหน่วยงานในพื้นควบคุมสูงสุด พื้นที่ควบคุม และพื้นที่เฝ้าระวังสูง ให้หัวหน้าส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐ เจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชน พิจารณาดําเนินมาตรการ ปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้งได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ การปฏิบัติงานนอกสถานที่ทํางานของหน่วยงานที่ต้องให้บริการแก่ประชาชนโดยตรง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค การรักษาความปลอดภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ งานที่มีกําหนดเวลาปฏิบัติชัดเจนและได้นัดหมายไว้แล้วล่วงหน้า ทั้งสามารถจัดมาตรการป้องกันโรคได้ เช่น การรักษาพยาบาล การติดต่อกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ให้พิจารณาดําเนินการ ตามความจําเป็นและเหมาะสม
ข้อ ๖
มาตรการควบคุมแบบบูรณาการจําแนกตามพื้นที่สถานการณ์ ให้คณะกรรมการ โรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี กํากับดูแลและติดตาม การดําเนินการของสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมในพื้นที่สถานการณ์ที่ได้ปรับมาตรการตามข้อกําหนดนี้ เพื่อให้เปิดดําเนินการได้ โดยให้ผู้ประกอบการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดเตรียมสถานที่ ให้เป็นไป ตามมาตรการปลอดภัยสําหรับองค์กร (COVID-Free Setting) ตามประเภทของกิจการกิจกรรม ตามระดับความเสี่ยงที่กระทรวงสาธารณสุขกําหนด จัดระบบหมุนเวียนระบายอากาศกํากับดูแลความพร้อม ของบุคลากรผู้ให้บริการ และปฏิบัติตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการ ป้องกันโรคต่าง ๆ ตามที่ทางราชการกําหนด รวมทั้งมาตรการที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบกําหนดขึ้น เป็นการเฉพาะดังต่อไปนี้
(๑) พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด
ก. โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท รวมถึงสถาบันกวดวิชา
ข. สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ สถานที่ให้การดูแล หรือสถานสงเคราะห์อื่นที่เป็นการจัดสวัสดิการให้แก่เด็ก
ค. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
ง. ห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ทุกประเภท บ้านหนังสือ หอศิลป์ แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม หรือสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน
จ. ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม
ฉ. ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เกต ตลาดสด หรือตลาดนัด
ช. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ซ. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ หรือสถานที่ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ฌ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือ ตัดผม ร้านทําเล็บ และร้านสัก
ญ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย
ฎ. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ําเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ํา เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ําสาธารณะ
ฏ. การใช้สถานที่หรือสนามกีฬาเพื่อการจัดแข่งขันกีฬา
ฐ. โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ หรือโรงละคร
(๒) พื้นที่ควบคุมสูงสุด
ก. โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท
ข. ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ง. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ หรือสถานที่ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
จ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือ ตัดผม ร้านทําเล็บ และร้านสัก
ฉ. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย
ช. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ําเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ํา เพื่อการสันทนาการ สระว่ายน้ําสาธารณะ
ซ. การใช้สถานที่หรือสนามกีฬาเพื่อการจัดแข่งขันกีฬา
ฌ. โรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ โรงละคร
พื้นที่ควบคุม
ก. โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท
ข. ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม
ค. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน
ง. โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดนิทรรศการ หรือสถานที่ที่มี ลักษณะคล้ายกัน
จ. คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานเสริมความงาม ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือ ตัดผม ร้านทําเล็บ ร้านสัก สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย
ฉ. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ําเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ํา เพื่อการสันทนาการ
(๔) พื้นที่เฝ้าระวังสูง
ก. โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท
ข. สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา สระน้ําเพื่อการกีฬาหรือกิจกรรมทางน้ํา เพื่อการสันทนาการ
(๕) พื้นที่เฝ้าระวัง
ข้อ ๗
การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยภายในเขตพื้นที่จังหวัดและการกําหนด มาตรการเพิ่มเติมของแต่ละจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี เสนอต่อ ศปก.ศบค. เพื่อตรวจสอบ กลั่นกรอง และเสนอ
นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาปรับระดับความเข้มข้นหรือการผ่อนคลายของพื้นที่สถานการณ์ย่อย ในระดับท้องที่หรือเขตอําเภอที่อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบของตนได้ตามความจําเป็น แห่งสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในห้วงเวลาต่าง ๆ
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถพิจารณาดําเนินการ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในการสั่งปิด จํากัด หรือห้ามการดําเนินการของสถานที่ กิจการ หรือสั่งให้งดการทํากิจกรรมอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบซึ่งมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค เพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่รับผิดชอบเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการ ควบคุมแบบบูรณาการที่ส่วนกลางกําหนดได้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ โควิด - 19 เพื่อให้การบริหารจัดการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคเฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สําคัญของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
จึงกําหนดให้ ศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด - 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รับผิดชอบกํากับดูแล การดําเนินการตามมาตรการ รวมทั้งให้มีอํานาจพิจารณากําหนดระดับความเข้มข้นหรือผ่อนคลาย ของมาตรการในพื้นที่รับผิดชอบได้ตามความเหมาะสมและความจําเป็นแห่งสถานการณ์ รวมทั้ง สอดคล้องกับแผนการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวและการกําหนดเป็นพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว
ข้อ ๘
มาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว สําหรับพื้นที่ ที่ประกาศเป็นพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยว ให้ดําเนินการตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเพื่อการ เปิดสถานที่ กิจการ และกิจกรรมสําหรับพื้นที่สถานการณ์ที่จําแนกเป็นเขตพื้นที่เฝ้าระวัง และ ตามมาตรการและข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของข้อ ๔ แห่งข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ที่กําหนดจํานวนบุคคลที่เข้ารวมกลุ่ม โดยกําหนดให้การจัดกิจกรรม รวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนมากในพื้นที่นําร่องด้านการท่องเที่ยวสามารถทําได้ตามความเหมาะสม โดยปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด
ข้อ ๙
การเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ทั่วราชอาณาจักร สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ทั่วราชอาณาจักรยังคงมีความจําเป็นให้ปิดดําเนินการไว้ก่อน โดยให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดําเนินการ เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมสําหรับการผ่อนคลายการเปิดสถานประกอบกิจการได้ตามแผนและ กรอบเวลาที่รัฐบาลจะประกาศกําหนดต่อไปได้อย่างปลอดภัยภายใต้เงื่อนไขและการกํากับดูแล การปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขที่ทางราชการกําหนด
ทั้งนี้ ตามที่ได้ประกาศไว้ในข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓๕) ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ และข้อกําหนดออกตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓๖) ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ที่มา
ราชกิจจานุเบกษาที่เกี่ยวข้อง