เกาะติดประเด็นโควิดกลายพันธุ์ “โควิดเดลต้าพลัส” ในประเทศไทยโดยช่วงเวลาที่เหลืออีกเพียง 3 วัน ก็จะ “เปิดประเทศ” รับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำ
ก่อนหน้านี้กระทรวงสาธารณสุขออกมาระบุว่า พบคนไทย 1 ราย ติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัสที่จังหวัดกำแพงเพชรโดยเชื้อโควิดเดลต้าพลัสดังกล่าว
ตรวจพบว่าเป็นเชื้อรหัส AY.1 ไม่ใช่เชื้อตัวเดียวกับที่กำลังระบาดหนักในอังกฤษ ที่มีรหัส AY.4.2
ขณะที่ข้อมูลจาก "กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน" โดย นพ.เฉวตสรร นามวาท ระบุว่า โควิคสายพันธุ์เดลต้าพลัส ในช่วง 28 วันที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญได้ติดตามการติดเชื้อในประเทศอังกฤษ พบว่า เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 6% ของสายพันธุ์อื่น ๆ
โดยกระทรวงสาธารณสุขมีระบบเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมตลอดเวลา และองค์การอนามัยโลกยังไม่มีการยกระดับของสายพันธุ์
สำหรับไทยพบผู้ติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลตาพลัส เพียง 1 คน และไม่มีรายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด จากการสุ่มตรวจเชื้อกลายพันธุ์ พบว่า ระยะหลังการแพร่ระบาดในประเทศไทยยังคงเป็นสายพันธุ์เดลต้า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีการสุ่มตรวจเชื้อ 1,000 กว่าราย พบเป็นสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 98.6
ส่วนใน 4 จังหวัดใต้ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 90.3 สายพันธุ์อัลฟา ร้อยละ 4.7 สายพันธุ์เบต้า ร้อยละ 5 ทำให้ทั่วทุกภูมิภาคของไทยตอนนี้เป็นการระบาดของเชื้อเดลตาเป็นหลัก ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ มีแนวโน้มลดลง
1.เดลต้าพลัส AY.1 คืออะไร
เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ย่อยของเดลต้า ที่มีทั้งหมด 47 สายพันธุ์ มีชื่อเรียก AY1-47 หรือที่เรียกว่าโควิดเดลต้า สายพันธุ์ย่อยเหล่านี้พบในประเทศไทย 18 สายพันธุ์ เช่น AY.3, AY.4, AY.10 เป็นต้น พบมากที่สุดคือเดลต้าพลัส AY.30 จำนวน 1,341 ราย และ AY.39 จำนวน 83 ราย
สายพันธุ์ที่พบแพร่ระบาดอยู่ในประเทศอังกฤษ คือ เดลต้าพลัส AY.4.2 ที่มีการกระจายตัวของเชื้อเร็วขึ้น 10-15% แต่ยังไม่รพบในประเทศไทย
2.เดลต้าพลัส AY.1 รุนแรงแค่ไหน
ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าหลีกหนีภูมิคุ้มกันได้ และความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือดื้อวัคซีน นั่นหมายความว่าวัคซีนโควิด-19 ก็น่าจะยังยังจัดการได้
3.โควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส
พบครั้งแรกเดือนเมษายน 2564 ที่ประเทศอินเดีย มีการกลายพันธุ์ในกรดอะมิโนที่เรียกว่า k417n มีการระบาดไปในหลายประเทศ อาทิ สหรัฐฯ อังกฤษ โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย จีน และไทย
4.เดลต้าพลัสแพร่เชื้อได้ง่ายกว่าเดลต้า
5.อาการโควิดสายพันธุ์เดลต้า
6.ประสิทธิภาพวัคซีนต่อสายพันธุ์เดลต้า
วัคซีนไฟเซอร์
เข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33% (หมายความว่า 33% เมื่อติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ)
เข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 88%
วัคซีนโมเดอร์นา
เข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%
เข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 88%
วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า
เข็มที่ 1 ป้องกันการติดเชื้อได้ 33%
เข็มที่ 2 ป้องกันการติดเชื้อได้ 60%
วัคซีนซิโนแวค
ยังไม่มีรายงานในการป้องกันการติดเชื้อ
7.ข้อแนะนำ