โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 209 ราย คลัสเตอร์ทหารเรือยอดพุ่ง 1,611 ราย

17 พ.ย. 2564 | 00:05 น.
อัปเดตล่าสุด :17 พ.ย. 2564 | 07:04 น.

โควิดชลบุรี วันนี้ (17 พ.ย. ) ติดเชื้อรายใหม่ 209 ราย สัมผัสคนในครอบครัว-ที่ทำงาน -คนใกล้ชิดรวมร่วม 100 ราย เสียชีวิต 1 ราย ไม่พบประวัติการรับวัคซีน ขณะที่ป่วยกำลังรักษาเหลือ 2,280 ราย รักษาหายสะสม 102,191 ราย

17พ.ย.64 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี)  รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวัน วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 209 ราย  ยอดป่วยสะสม 105,215 ราย รักษาหายเพิ่ม 289 ราย รักษาหายสะสม 102,191 ราย กำลังรักษา 2,280 ราย เสียชีวิต 1 ราย เสียชีวิติสะสม 744 ราย

 

โควิดชลบุรี ติดเชื้อรายใหม่ 209 ราย คลัสเตอร์ทหารเรือยอดพุ่ง 1,611 ราย
 

รายละเอียดการติดเชื้อรายใหม่ มาจาก

 

1. คนที่พักอาศัยในจังหวัดระยอง เข้ามารักษาในจังหวัดชลบุรี 15 ราย สะสม 4,886 ราย และจังหวัดอื่นๆรวมสะสม 1,792 ราย

2. Cluster เขตพื้นที่ทหารเรือ อ.สัตหีบ 16 ราย สะสม 1,611 ราย
    2.1 ทหารเกณฑ์ 9 ราย 
    2.2 ข้าราชการทหารเรือ 7 ราย 

3. Cluster กรมทหารราบที่ 21 กองพันที่ 3 อ.เมืองชลบุรี 6 ราย สะสม 10 ราย

4. Cluster ที่พักแรงงาน บริษัท เอ็ม อาร์ พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด อ.เมืองชลบุรี 4 ราย สะสม 4 ราย

5. บุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย 

6. อาชีพเสี่ยงพบปะผู้คนจำนวนมาก 2 ราย 

7. ให้ประวัติเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงต่างจังหวัด 
    7.1 กทม. 1 ราย 
    7.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 ราย 
    7.3 จังหวัดระยอง 1 ราย 

8. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน
    8.1 ในครอบครัว 54 ราย
    8.2 จากสถานที่ทำงาน 40 ราย
    8.3 บุคคลใกล้ชิด 7 ราย
    8.4 ร่วมวงสังสรรค์ 3 ราย 

9. สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (อยู่ระหว่างสอบสวนโรค) 11 ราย 

10. อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 45 ราย

 

ผู้เสียชีวิต-อาการหนัก

 

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ที่มีอาการรุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจรายใหม่ 1 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 4 ราย ฉีดวัคซีน 1 ราย ไม่ได้ฉีดวัคซีน 3 ราย

ในเดือน พย.มีจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง ใส่ท่อช่วยหายใจ 7 ราย ฉีดวัคซีน 2 ราย ไม่ฉีดวัคซีน 5 ราย ปอดอักเสบ 34 ราย ฉีดวัคซีน 5 ราย ไม่ฉีดวัคซีน 29 ราย 
 

ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 รายของวันนี้ (เพศชายอายุ 54 ปี) เป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน (บุคคลใกล้ชิด) ของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า มีปัจจัยเสี่ยงร่วมที่ทำให้ความรุนแรงของโรคที่นำไปสู่การเสียชีวิต คือ การมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน และไม่พบประวัติการรับวัคซีน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก ผู้สูงอายุควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้มีอัตราป่วยหนักหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด 19 มากกว่ากลุ่มอื่น