ศบค.ประกาศตามตัวผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง 252 ราย ตรวจ RT-PCR

01 ธ.ค. 2564 | 07:12 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2564 | 14:44 น.

ศบค.ประชาสัมพันธ์ แจ้งผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง 252 ราย ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน ตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวันที่ 1 ธ.ค.64 ช่วงหนึ่งถึงมาตรการการติดตามผู้ที่มาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงว่า จากข้อมูลผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา ตั้งแต่วันที่ 15-27 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มเสี่ยง 8 ประเทศ เข้ามาในระบบ Sandbox จำนวน 255 ราย  ออกไปแล้ว 3 ราย คงค้างอยู่ในประเทศไทย 252 ราย ติดตามได้ 11 ราย

 

ศบค.ประกาศตามตัวผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง 252 ราย ตรวจ  RT-PCR

 

ในที่ประชุมอีโอซี กระทรวงสาธารณสุข และศปก.ศบค. เน้นย้ำและฝากประชาสัมพันธ์ถึงคนไทยและคนต่างชาติที่มาพำนักในประเทศไทยที่คงเหลือ 252 รายที่มาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง ขอให้มารายงานตัวและรับการตรวจ RT-PCR ฟรี

 

ศบค.ประกาศตามตัวผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง 252 ราย ตรวจ  RT-PCR

ขอความร่วมมือคนที่เดินทางมากจาก 8 ประเทศ ได้แก่ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ถ้าท่านเดินทางมาถึงตั้งแต่วันที่ 15  พฤศจิกายน ถ้าอยู่ในระบบ Sand Box ขอให้ท่านสังเกตตัวเองเป็นเวลา 14 วัน และให้ตรวจหาเชื้อตามช่วงเวลา กรณีที่ออกจากสถานที่กักตัวแล้ว แต่ไม่ครบ 14 วันขอให้คุมตัวเองให้ครบ 14 วัน ถ้าอยู่บ้านก็ขอความร่วมมืออย่าออกไปไหน และมาตรวจหาเชื้อ

 

สำหรับผู้ที่เดินทางมาถึงไทยตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. 2564 จะต้องกักตัว 14 วันและต้องตรวจหาเชื้ออีก 3 ครั้ง ส่วนประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาใต้ที่เดินทางมาถึงไทย ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย.– 5 ธ.ค. 2564 นั้น ให้กักตัว 14 วันหากมีอาการให้ตรวจหาเชื้อทันที ถ้าเข้ามาในระบบ Quarantine ให้กักตัวจนครบกำหนด 14 วัน  

 

ศบค.ประกาศตามตัวผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยง 252 ราย ตรวจ  RT-PCR

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ประเทศไทยจะปิดรับผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงสูงในแอฟริกาที่พบการระบาดของเชื่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 เป็นต้นไป ยกเว้นผู้ที่มีสัญชาติไทย

 

ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากประเทศอื่นในแอฟริกาจะต้องเข้าระบบกักตัว

 

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงและการก่อโรคของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เบื้องต้นลักษณะอาการพบว่าไม่มีความแตกต่างกับสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกมมา และ เดลตา บางรายงานระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย แต่ยังไม่พบว่าสูญเสียการรับรู้กลิ่น/รส ซึ่งอาการป่วยไม่รุนแรง ขณะที่ความเร็วในการแพร่โรคคาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า wild type แต่ยังไม่มีข้อมูลหลักฐานยืนยันอย่างไรก็ตาม พบว่ามีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตในต่างประเทศ
          

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าวัคซีนที่มีอยู่ในขณะนี้สามารถป้องกันความรุนแรงของอาการผู้ติดเชื้อได้