อัพเดท โควิดสายพันธุ์โอไมครอน แพร่เร็วแทนที่เดลตา อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น

03 ธ.ค. 2564 | 05:18 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ธ.ค. 2564 | 12:28 น.

อัพเดทข้อมูลใหม่ ศูนย์จีโนม โควิดสายพันธุ์โอไมครอน แพร่เร็วแทนที่เดลตา อาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น คาดรู้ผล 2-3 สัปดาห์

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลศิริราช เปิดเผยความคืบหน้า โควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยยกการคาดการณ์สถานการณ์ของ Dr. John L. Campbell ผู้มีอิทธิพลในโซเชียลมีเดียของอังกฤษได้รับความสนใจในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ดร. แคมเบล สรุปประเด็นของโรคโควิด19  “โอไมครอน” ไว้อย่างน่าสนใจซึ่งตรงกันหลายประเด็นที่ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้

โดยระบุว่า วัคซีนเชื้อตายอาจช่วยปกป้องการติดเชื้อโอไมครอน ได้ดีหรือไม่?  เพราะเป็นการใช้เชื้อไวรัสทั้งตัวเข้ากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งแม้จะกระตุ้นภูมิได้ไม่สูงเมื่อเทียบกับวัคซีนประเภทอื่น แต่จะกระตุ้นให้เกิด "แอนติบอดี" มากมายกว่า 20 ชนิด 

ต่างจากการใช้วัคซีนที่มีไวรัสเป็นพาหะ หรือวัคซีน mRNA  ซึ่งภูมิจะขึ้นสูงกว่าแต่จะจำเพาะเจาะจงเฉพาะส่วน "หนาม" เพราะใช้เพียงส่วนหนามเข้ากระตุ้นภูมิเท่านั้น

ดังนั้นหากติดเชื้อโอไมครอนที่ส่วนหนามเปลี่ยนไป อาจทำให้แอนติบอดีในร่างกายเราที่สร้างจากการกระตุ้นเพียงส่วนหนาม (จากวัคซีนไวรัสพาหะ และวัคซีน mRNA) ลดประสิทธิ์ภาพในการป้องกัน โอไมครอนลงได้

และกรณีไวรัสกลายพันธุ์จนสามารถแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็ว (high transmissibility)  ก็มักจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการป่วยที่ไม่รุนแรง (mild symptom)  โดยไวรัสเองจะหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากวัคซีน (immune escape) ได้ลดลงเช่นกัน เหตุการลักษณะเดียวกันนี้เกิดขึ้นมาแล้วกับสายพันธุ์ “บีตา”

 

ซึ่งเป็นไวรัสโคโรนา 2019 ที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี (immune escape) แต่แพร่ติดต่อได้ไม่ดี จนถูก สายพันธุ์“เดลตา” ซึ่งแพร่ติดต่อได้รวดเร็วกว่า (more transmissibility) เข้ามาแทนที่  โดย “เดลตา” เองแม้จะแพร่ติดต่อได้ดีแต่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีนัก

 

หากคาดการณ์สถานการณ์ที่เป็นไปอย่างดีที่สุด โชคดีที่สุดที่ควรเป็นไปได้ (Best case scenario) “โอไมครอน” ซึ่งมีการกลายพันธุ์ไปมากและจากข้อมูลล่าสุดพบว่าสามารถแพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คนได้รวดเร็วกว่า “เดลตา” มีความเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาแทนที่เดลตาในที่สุด  โดยผู้ติดเชื้อไม่มีอาการรุนแรง (mild symptom)  ทำให้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดภูมิคุ้มกันโดยไม่ล้มเจ็บต้องเข้า รพ. หรือเสียชีวิต

 

โอไมคอรน หากเข้ามาแทนเดลตาได้สำเร็จ อาจช่วยลดระดับความรุนแรงของการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Endemic) ที่มีอาการลดลงในที่สุด  คล้ายกับการให้วัคซีนชนิดเชื้อเป็น แต่อ่อนฤทธิ์ (live-attenuated vaccine) แกคนทั่วโลก (โดยธรรมชาติ)  ซึ่งน่าจะได้คำตอบภายใน 2-3  อาทิตย์ว่าบทสรุปแนวทางนี้ถูกต้องหรือไม่

ติดตามการบรรยาย