น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ต้องจับตามอง !! ไวรัส IHU จากฝรั่งเศส มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยเฉพาะที่ส่วนหนาม
ในช่วงระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา ไวรัสโคโรนาก่อโรคโควิด ได้มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอมาโดยตลอด
เพราะเป็นไวรัสสารพันธุกรรมเดี่ยว (RNA) ซึ่งกลายพันธุ์ได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาและพื้นที่ที่มีการระบาด มีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
เพราะเมื่อไวรัสเพิ่มจำนวนอย่างมาก จะเป็นจังหวะที่มีการกลายพันธุ์มากเป็นพิเศษ
GISAID ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูลสารพันธุกรรมของไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ พบว่าได้มีการกลายพันธุ์ไปแล้วทั้งสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยมากกว่า 1000 สายพันธุ์
โดยกลุ่มที่มีความโดดเด่น และผู้คนควรให้ความสนใจ เนื่องจากก่อปัญหาโรคภัยไข้เจ็บได้มาก ประกอบด้วย
1.กลุ่มที่น่าเป็นห่วงกังวล (VOC : Variant Of Concern) มี 5 สายพันธุ์ได้แก่ อัลฟ่า เบต้า แกมมา เดลตาและโอมิครอน
2.กลุ่มที่ต้องให้ความสนใจ ( VOI : Variant Of Interest) เช่น แลมป์ด้า
3.กลุ่มที่ต้องคอยติดตาม (VUM : Variant Under Monitoring) เช่น IHU
เมื่อมีการค้นพบการกลายพันธุ์ของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่มีจุดน่าสนใจ เช่น มีจำนวนหรือตำแหน่งของการกลายพันธุ์ที่มาก
และถ้าไปอยู่ในส่วนที่เป็นหนาม ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อ 3 มิติของการระบาด ก็จะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทันที
สามมิตินั้นได้แก่
โดยที่ส่วนใหญ่ จะถูกจัดเข้ามาอยู่ใน VUM ก่อน เช่น โอมมิครอน และถ้าติดตามไปแล้วมีข้อมูลว่าจะเป็นอันตราย ก็จะขยับชั้นขึ้นไปที่ VOI หรือ VOC ต่อไป
แต่ถ้าติดตามไปแล้ว ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง ก็จะหลุดจากกลุ่มที่ตั้งชื่อเอาไว้
ส่วนชื่อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆนั้น จะเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ซึ่งยุ่งยากแก่การจดจำไปก่อน
จนกว่าจะขยับเข้ามาอยู่ในสองกลุ่มแรก ที่น่าจะต้องทำให้ประชาชนรับทราบ ก็จะตั้งชื่อเป็นอักษรกรีก
ตัวอย่างที่ผ่านมา เช่น แอลฟ่า เบต้า แกมมา เดลต้า และโอมิครอน โดยโอมิครอนเป็นอักษรกรีกตัวที่ 15
ถ้ามีไวรัสตัวใดเพิ่มเติม และได้รับการจัดอันดับ ก็จะใช้อักษรกรีกตัวที่ 16 คือ พาย ( Pi : 22/7)
แต่ไวรัสตัวใหม่นี้มีชื่อว่า B.1.640.2 ซึ่งพบในฝรั่งเศสตอนใต้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 นี้
โดยเป็นผู้ที่เดินทางมาจากประเทศแคมเมอรูน ในทวีปแอฟริกา ถูกจัดให้อยู่ใน VUM โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.เริ่มพบในแอฟริกา ตั้งแต่กันยายน 2564
2.แบ่งเป็น 2 สายพันธุ์ย่อย
3.รายงานโดย IHU จึงตั้งชื่อว่าไวรัส IHU ซึ่งก็คือศูนย์วิจัยของฝรั่งเศสตอนใต้นั่นเอง ( The Institut Hospitalo Universitaire Mediterranee Infection Research Center)
4.มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง ทั้งตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไป 46 ตำแหน่ง และตำแหน่งที่หายไป 37 ตำแหน่ง
โดยตำแหน่งที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่หนามมากถึง 14 ตำแหน่ง ซึ่งมากกว่าของเดลต้าซึ่งเปลี่ยนแปลง 9 ตำแหน่ง แต่ยังน้อยกว่าโอมมิครอนที่เปลี่ยนแปลง 32 ตำแหน่ง
ยังโชคดีที่พบว่า จากการติดตามอย่างใกล้ชิดจนถึงปัจจุบัน ยังไม่พบการแพร่ระบาดที่กว้างขวางนัก
มีการพบผู้ติดเชื้อประปราย เช่น ในฝรั่งเศส คองโก และล่าสุดพบที่แคนาดา 5 ราย
ก็คงจะต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดต่อไป เพราะไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่หนามมากกว่าไวรัสเดลตา แม้จะน้อยกว่าโอมมิครอน ก็วางใจไม่ได้