"โควิด 19" จะกลายเป็น “โรคประจำถิ่น” เริ่มถูกพูดถึงกันในวงกว้างมากขึ้น ขณะที่วานนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาเตือน ว่า ประเทศต่างๆไม่ควรนิ่งนอนใจ ที่จะมองว่า โควิด-19 ได้กลายเป็น โรคประจำถิ่น เหมือนกับไข้หวัดใหญ่ แทนที่จะมองว่าเป็นโรคระบาดใหญ่ในวงกว้าง เพราะจนถึงขณะนี้ก็ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ
ทางด้าน กระทรวงสาธารณสุขของไทยโดย นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงหลักการพิจารณาว่าให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นในประเทศใดว่าต้องพิจารณาจากปัจจัย
โควิดจะกลายเป็น “โรคประจำถิ่น” มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ต้องรู้
สรุปได้ว่า “โรคประจำถิ่น” เป็นโรคที่เกิดขึ้นประจำเฉพาะบริเวณพื้นที่นั้น ๆ มีการแพร่กระจายและสามารถคาดเดาอัตราการติดเชื้อได้ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ โรคเอดส์
โควิด-19 จะปรับเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นได้หรือไม่
ไม่ใช่เกิดจากตัวเชื้อหรือระบบสาธารณสุขเท่านั้น แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนและประชาชนในการร่วมเดินหน้ารับมือให้โควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น เช่น การป้องกันตนเองสูงสุด มาตราการสำคัญ และรับการ)รับการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งระดับบุคคลและประเทศ
การระบาดของโรคติดต่อ มี 4 ระดับ
อย่างไรก็ตาม หลังจากการแพร่ระบาดถึงขั้นสูงสุดของการระบาดแล้ว โรคระบาดเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนกลายเป็นโรคประจำถิ่น หรือโรคระบาดตามฤดูกาลของประเทศต่อไป ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้