ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า
วิกฤติปัญหาสาธารณสุขของประเทศ
ปัญหาร้ายแรงขณะนี้อยู่ที่การต้องจับมือร่วมกันทุกฝ่ายของผู้ให้บริการ และประชาชน รวมทั้งโรงเรียนแพทย์ โดยต้องเข้าใจตรงกันว่า
ยาต้องพิจารณาที่ผลิตในประเทศที่ตรวจสอบคุณภาพแล้ว ไม่มีการอ้างยานอกดีกว่า เช่นยาไขมัน นอก เม็ดละ60 บาท ของไทยผลิตเองเพราะเมืองนอกหมดสิทธิบัตรแล้ว 5 บาท
ยาผีบอก ไม่ได้มีข้อมูลว่าดีจริง แต่หลุดมาได้อย่างไรจาก อย. ต้องกำจัดออก ทั้งนี้รวมถึงยาที่ปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ประโยชน์ ไม่รักษาต้นเหตุ ชะลอโรคไม่ได้ ช่วยกระตุ้นเท่านั้น เช่นยา อัลไซเมอร์ ทั้งหลาย
คนที่มีฐานะต้องช่วยจ่าย ไม่ใช่รวยเป็น100 ล้าน แต่เบียดเบียน ชาวบ้าน ขอฟรี นี่เป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่
อาจารย์ทุกคนเป็น super specialist ในด้านลึก แต่ต้องไม่จับลูกเด็กเล็กแดง มารู้ลึกเท่ากันหมด รู้ตามมาตรฐานในการช่วยชีวิต รู้ว่าเมื่อไร ต้องหาความช่วยเหลือ รู้ขอบเขตความสามารถ และต่อยอดได้ ในอนาคต
นอกจากนั้น ต้องเข้าใจกองทุนของประเทศซึ่งต้องช่วยคนส่วนใหญ่ เลือกยาถูกที่ดี และ มีผลกระทบในการชะลอ ป้องกัน โรค ไม่ใช่เพียงบรรเทาอาการ ปี 3-4-5 เรียนและขึ้นหอผู้ป่วย โดยมีความรู้สึกของการที่ต้องเข้าใจทั้งตัวมนุษย์ และตัวโรค และมีปัญญาพอที่จะตัดสินใจ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตัวเอง
จากนั้น เป็นแพทย์ฝึกหัดอีก 2 ปี ค่อยเลือกว่าจะเป็นอะไรในการต่อยอด แต่ไม่ว่าจะเลือกทางสายไหนก็ยังคงมีปัญญาที่จะติดตามวิชาการ และพอเข้าใจความสำคัญที่ต้องมีการวิจัย และการแปลผลการวิจัย (แม้ไม่ได้ทำวิจัยเอง)
การรับรู้ยากลุ่มใหม่ๆที่เข้าตลาดว่าตัวไหนมีความเก่งจริงหรือผลข้างเคียงสูง และยังรับรู้สถานการณ้ทางสาธารณสุขของประเทศได้
การสร้างแพทย์เป็นปัญหาที่หมักหมมมานับ10 ปีตั้งแต่ลดตัด การเรียนเพราะคิดว่าไม่ได้ใช้ ไม่ได้ประโยชน์ แท้จริงแล้วเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อช่วยในการยืนด้วยขาตัวเอง ของประเทศในอนาคตครับ
หวังว่าน่าจะมีการทำความเข้าใจ และทราบปัญหาที่หลากหลายที่มีอยู่มากมายในขณะนี้อยู่แล้วซึ่งทำให้เราด้อยกว่าประเทศอื่นๆ