Long Covid คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง ใครมีความเสี่ยงจะเป็นมากที่สุด

04 ก.พ. 2565 | 04:03 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.พ. 2565 | 11:06 น.

Long Covid คืออะไร มีอาการอย่างไรบ้าง ใครมีความเสี่ยงจะเป็นมากที่สุด อ่านครบจบที่นี่ หมอธีระเผยหญิงเสี่ยงกว่าชาย ผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

4 กุมภาพันธ์ 2565 ทะลุ 387 ล้านไปแล้ว

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,510,340 คน ตายเพิ่ม 7,989 คน รวมแล้วติดไปรวม 387,681,022 คน เสียชีวิตรวม 5,726,248 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ บราซิล ฝรั่งเศส รัสเซีย เยอรมัน และอเมริกา
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

ตัวเลขผู้ป่วย Long COVID ในอังกฤษ

 

มีกลุ่มนักวิชาการคาดประมาณว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วย Long COVID ในอังกฤษอย่างน้อย 1.68% ของจำนวนประชากรทั้งหมด

นั่นคือกว่า 900,000 คน หากคิดจากฐานประชากรราว 56 ล้านคน

 

ทั้งนี้ความรู้เดิมเราทราบว่า Long COVID มีโอกาสเกิดได้ในคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม

 

อาการรุนแรงจะเสี่ยงกว่าอาการน้อยและไม่มีอาการ

 

หญิงเสี่ยงกว่าชาย

 

ใครมีความเสี่ยงเกิด Long Covid

 

ผู้ใหญ่เสี่ยงกว่าเด็ก

 

และกลุ่มเศรษฐานะไม่ดีเสี่ยงกว่าเศรษฐานะดี

 

ภาวะอาการคงค้างระยะยาวนี้ ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก เบื้องต้นมีสมมติฐานว่าเกิดจากกระบวนการอักเสบเรื้อรังในระบบต่างๆ ของร่างกาย

 

ดังนั้นป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

สำหรับ อาการของ Lovg Covid นั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกรมการแพทย์ ซึ่งได้มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับร่างกายของผู้ป่วย พบว่า

 

ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิค-19 (Covid-19) หรือ ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่หรือต่อเนื่องภายหลังการติคเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ

 

และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ

 

จากการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิค-19 อาการที่มักพบได้บ่อยมี ประกอบด้วย 

 

ระบบทางเดินหายใจ (44.38%)

 

อาการที่พบ

 

  • หอบเหนื่อย
  • ไอเรื้อรัง
     

ระบบทางจิตใจ (32.1%)

 
อาการที่พบ

 

  • นอนไม่หลับ
  • วิตกกังวล
  • ซึมเศร้า
  • ระบบหัวใจ

 

ระบบประสาท (27.33%)

 
อาการที่พบ

 

  • อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะ
  • มึนศีรษะ
  • หลงลืม
  • กล้ามเนื้อลีบ

 
ระบบทั่วไป (23.41%)

อาการที่พบ 

 

  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดตามข้อ

 

หลอดเลือด (22.86%)

 

อาการที่พบ

 

  • เจ็บหน้าอก
  • ใจสั่น
     

ระบบผิวหนัง (22.8%)

 

อาการที่พบ

 

  • ผมร่วง
  • ผื่นแพ้
     

อย่างไรก็ดี อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่เคยรักษาโควิค-19