น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
แนวโน้มโควิดระลอกที่สี่ ผู้ติดเชื้อ 50,000 รายต่อวัน เสียชีวิต 70 รายต่อวัน
จากสถานการณ์โควิดระลอกที่ 4 ที่อยู่ในช่วงขาขึ้น และมีการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ ผู้รักษาตัวอยู่ และผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องในขณะนี้นั้น
เกิดจากลักษณะธรรมชาติของไวรัสสายพันธุ์ใหม่โอมิครอน (Omicron) ซึ่งมีความสามารถในการแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว ติดต่อกันได้ง่าย
กล่าวคือติดง่ายกว่าไวรัสเดลตา 4-6 เท่า แต่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา 5 เท่า
เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวข้างต้น มาประกอบกับสถิติโควิดระลอกที่ 3 ของประเทศไทย ซึ่งเกิดจากไวรัสเดลตา ก็พอประมาณการได้ว่า
จำนวนผู้ติดเชื้อ (PCR+ATK)ในระลอกที่ 4 นี้ น่าจะอยู่ประมาณ 50,000 รายต่อวัน
และการเสียชีวิต น่าจะประมาณ 70 รายต่อวัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.จำนวนผู้ติดเชื้อ : พบว่าในระลอกที่ 3 มีจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันสูงสุดที่ 23,418 ราย(13สค2564) โอมิครอนติดง่ายกว่า 4 เท่า จึงประมาณการได้ว่า อาจจะพบผู้ติดเชื้อสูงถึงวันละ 93,672 ราย
แต่ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากคือ มีการฉีดวัคซีนในระลอกนี้ มากกว่าระลอกที่แล้วอย่างมีนัยสำคัญ
จึงทำให้ผู้จำนวนผู้ติดเชื้อน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับราว 50,000 รายต่อวัน
ทั้งนี้ต้องมีปัจจัยสนับสนุนประกอบด้วย มาตรการของรัฐที่มีความเข้มข้นเหมาะสมกับสถานการณ์ มีการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ครบ 50 ล้านคน และวินัยของประชาชนที่ยังป้องกันตัวเองกันเป็นอย่างดี
ถ้าขาด 3 ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น โอกาสที่ผู้ติดเชื้อจะมากกว่าวันละ 50,000 รายก็เป็นไปได้สูง
โดยลักษณะของจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวัน จะทยอยพบผู้ติดเชื้อเข้าข่ายหรือ ATK เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ และคาดว่าน่าจะแซงหน้าจำนวนผู้ติดเชื้อที่ตรวจยืนยันด้วย PCR
เนื่องจากผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอมิครอน ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ จึงมักจะไม่ได้ไปตรวจด้วยวิธี PCR ที่สถานพยาบาล
แต่มักจะซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจด้วยตนเองที่บ้าน เนื่องจากมีราคาถูก ทราบผลรวดเร็ว และหาซื้อได้ง่ายพอสมควร
2.จำนวนผู้เสียชีวิต : เนื่องจากไวรัสโอมิครอนมีความรุนแรงน้อย ทำให้เสียชีวิตน้อยกว่าเดลตา 5 เท่า
ในช่วงที่เดลต้าระบาดระลอกที่ 3 พบอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1% จึงคาดว่าการเสียชีวิตจากโอมิครอนน่าจะอยู่ที่ 0.2%
เมื่อคาดการณ์ผู้ติดเชื้อวันละ 50,000 ราย จึงคาดว่าผู้เสียชีวิตไม่น่าจะเกิน 100 ราย
แต่เนื่องจากมีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้สูงอายุและกลุ่มเสี่ยง 8 กลุ่ม ก็จะส่งผลทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 100 ราย น่าจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 70 ราย
แต่ถ้าสามารถระดมฉีดวัคซีนในกลุ่ม 608 ได้ครบ 100% จำนวนผู้เสียชีวิตน่าจะต่ำกว่า 50 รายได้
ทั้งนี้มีตัวแปรที่สำคัญคือ จำนวนเตียงในโรงพยาบาลหลัก ซึ่งจะต้องบริหารจัดการ ให้ผู้ติดเชื้อที่มีอาการเล็กน้อยอยู่ที่โรงพยาบาลสนามและแยกกักที่บ้าน
เพื่อทำให้เตียงในโรงพยาบาลหลัก มีว่างเพียงพอที่จะรองรับผู้ติดเชื้อที่มีอาการปานกลางถึงอาการหนักไดั
ก็จะทำให้จำนวนผู้เสียชีวิต เป็นไปตามประมาณการดังกล่าวข้างต้น
กล่าวโดยสรุป