โควิดวันนี้รวม atk ตัวเลขการติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผู้ป่วยปอดอักเสบก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ล่าสุดรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
อัตราการตรวจพบผลบวก 27.07% (เดิม 29.51%)
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 882 คน เป็น 1,094 คน เพิ่มขึ้น
24.03%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 229 คน เป็น 310 คน เพิ่มขึ้น 35.37%
กรุงเทพฯ 3,054 (เดิม 2,802)
อัตราการตรวจพบผลบวก 41.67% (เดิม 52.65%)
นนทบุรี 682 (เดิม 1,202)
อัตราการตรวจพบผลบวก 33.37% (เดิม 20.03%)
หมอธีระ ยังโพสด้วยว่า
งานวิจัยจากเดนมาร์กเรื่องปัญหา Long COVID
Sorensen AIV และทีมวิจัยจากประเทศเดนมาร์ก เผยแพร่ผลการศึกษาใน medRxiv เมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2565
ศึกษาในเดือนกันยายน 2563 ถึงเมษายน 2564 ในกลุ่มประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 152,880 คน โดยเปรียบเทียบกลุ่มที่มีประวัติตรวจพบว่า
ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 61,002 คน และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อจำนวน 91,878 คน โดยทำการสำรวจ ณ 6, 9, 12 เดือนหลังจากที่ทราบผลการตรวจ
พบว่า หลังจากติดเชื้อมาแล้ว 6-12 เดือน ผู้ที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19) ราวหนึ่งในสามจะมีปัญหา Long COVID โดยมีอาการผิดปกติต่างๆ ทั้งทางด้านร่างกาย อาทิ ปัญหาด้านความคิดความจำ ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงปัญหาทางจิตเวช เช่น เครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ
ทั้งนี้ มีถึง 53.1% ของคนที่เคยติดเชื้อ จะมีปัญหาด้านสมาธิ การนอนหลับ หรือการอ่อนเพลียอ่อนล้าง่าย ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อถึง 5 เท่า
รายงานนี้ชี้ให้เห็นว่า ในระดับประเทศ ซึ่งมีจำนวนการติดเชื้อมาก ปัญหา Long COVID หรือ Post-acute symptoms นี้จะเป็นผลกระทบสำคัญที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการติดเชื้อ ทั้งต่อตัวคนที่เป็น และต่อประเทศ
หากจำกันได้ มีงานวิจัยก่อนหน้านี้จำนวนมากที่ชี้ให้เห็นผลกระทบของ Long COVID เช่น งานวิจัยในอเมริกาที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่สูงขึ้นหลายเท่าหลังติดเชื้อมา 12 เดือน