โควิดวันนี้รวมatk ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่ยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
พีคกว่าเดิม สูงสุดเท่าที่เคยระบาดมา
อัตราตรวจพบเป็นผลบวก 49.11%
หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1131 คน เป็น 1,238 คน เพิ่มขึ้น 9.46%
ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 325 คน เป็น 420 คน เพิ่มขึ้น 29.23%
จากธรรมชาติของทั่วโลก จำนวนติดเชื้อสูงสุดต่อวันในระลอก Omicron จะสูงกว่าระลอกก่อนหน้า 3.65 เท่า
ยอดวันนี้ของไทยคิดเป็น 3.09 เท่า
เคยคาดประมาณว่าพีคไทยอาจไปถึง 85,476 คนต่อวัน
ป.ล.ยิ่ง time to peak (ขาขึ้น) ยาวนานเท่าใด ขาลงจะยาวกว่าเดิม 1.5 เท่าโดยเฉลี่ย
ดังนั้นนโยบายและมาตรการรัฐ ด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันควบคุมโรคนั้นสำคัญยิ่ง
หมอธีระยังโพสด้วยว่า
มองโลก
ส่วนตัวแล้วฟันธงว่าไม่มีทางที่จะเป็นโรคประจำถิ่นใน 4 เดือน หากยังดำเนินนโยบายและมาตรการแบบที่เป็นมา
ด้วยระบบ โครงสร้าง และกลไกทางสาธารณสุขและสังคมที่มีอยู่ตอนนี้ จำเป็นต้องมีแผนรับมือการเปลี่ยนผ่านของธรรมชาติการระบาดที่นานกว่าที่ประกาศออกมา
เพื่อจัดการความเสี่ยง และลดโอกาสสูญเสียทั้งระยะสั้นจากการติดเชื้อป่วยและตาย และระยะยาวจาก Long COVID
"ในช่วง 6 เดือนถัดจากนี้ จะมีความรู้เกี่ยวกับ Long COVID จากเดลตาและ Omicron ออกมามากขึ้น และจะเป็นลูกแก้วทำนายอนาคตของภาวะ New Normal ในช่วงถัดจากนั้นไปว่าจะเป็นเช่นไร"
ดังนั้น ทางที่เหมาะสมคือ การชี้นำให้คนในสังคมเห็นถนนหนทางข้างหน้าที่อยู่บนฐานความรู้ สอดคล้องกับความจริง
ไม่ฉายภาพฝันให้หลงเคลิ้ม กลางทะเลทราย
ไม่เปิดเพลงไพเราะเสนาะหู เพื่อกลบเสียงกรีดร้องทิ่มแทงใจที่ยังมีอย่างดาษดื่น
การรับมือวิกฤติด้วยความรู้ จะช่วยให้สังคมมีภูมิคุ้มกัน มีสติ ไม่ประมาท และพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะคุกคามที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรามีบทเรียนมากมายหลายเรื่องในรอบปีกว่าที่ผ่านมา ทั้งใกล้ตัวไกลตัว
ไม่ธรรมดา ไม่กระจอก ไม่เพียงพอ และเอาไม่อยู่ หากประมาท
ดังนั้นก้าวย่างช้าๆ แต่มั่นคง ย่อมดีกว่ารีบก้าวและหล่นลงเหว