สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 ที่เพิ่มสูงขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้ความต้องการยารักษาโรคอย่าง ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)มีเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยสีเขียว หรือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก ส่วนมากจะได้รับยาฟ้าทะลายโจรเพื่อรักษาเบื้องต้น อาทิ บรรเทาอาการไข้ ไอ เจ็บคอ
ขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการ แพทย์จะมีการพิจารณาและจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ให้ ทั้งนี้มีข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งถือว่าสำคัญมาก นั่นก็คือห้ามทานยาฟาวิพิราเวียร์ ร่วมกับยาฟ้าทะลายโจร เพราะมีโอกาสเป็นพิษต่อตับ
เรื่องดังกล่าวนี้ ทางคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ได้เปิดเผยว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) ปัจจุบันถือเป็นยาหลักในการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด -19 เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดปริมาณไวรัสได้ดี และถูกจัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ซึ่งการใช้ยาชนิดนี้ต้องได้รับการประเมินอาการและจ่ายยาจากแพทย์ หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น ยังไม่สามารถซื้อจากร้านขายยาทั่วไป
ดังนั้นในเบื้องต้นหากตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด ควรโทร. 1330 เพื่อลงทะเบียนเข้าสู่ระบบการรักษา ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการก็ไม่ต้องใช้ยาฟาวิพิราเวียร์เช่นกัน เนื่องจากหายได้เอง ไม่ต้องได้รับผลข้างเคียงจากยา และไม่แนะนำให้ใช้ยาฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ เนื่องจากเพิ่มโอกาสในการเป็นพิษต่อตับ
รู้จักยาฟาวิพิราเวียร์(Favipiravir)
ข้อดีของยาฟาวิพิราเวียร์
สิ่งที่ต้องระวังสำหรับยาฟาวิพิราเวียร์
ผู้ป่วยใดที่ควรได้รับยาฟาวิพิราเวียร์
วิธีการรับประทานยาฟาวิพิราเวียร์
ผู้ป่วยควรรับประทานยาตามวันและเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ระยะเวลาในการรักษาอยู่ที่ 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย
ผลข้างเคียงของยาฟาวิพิราเวียร์ที่พบ
ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยไม่ควรซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ นอกระบบ เช่น ทางออนไลน์ เพราะเป็นยาอันตราย เนื่องจากคุณภาพที่ได้ไม่เพียงพอต่อการรักษา และอาจทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ภาวะตาสีฟ้าจากยาฟาวิพิราเวียร์
ผลข้างเคียงของยาฟาวิพิราเวียร์ที่สร้างความฮือฮาก่อนหน้านั้น คือการทานยาแล้วตากลายเป็นสีฟ้า ซึ่งในกรณีนี้ รศ. พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาสีฟ้า รวมไปถึงคำแนะนำ โดยมีข้อมูลดังนี้
การเกิดภาวะตาสีฟ้าจากยาฟาวิพิราเวียร์
ตาสีฟ้ากับการมองเห็นของผู้ป่วยโควิด-19
คำแนะนำจากแพทย์
ที่มาข้อมูล - ภาพ