โควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อทะลุเกิน 3 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 16.9%

15 มี.ค. 2565 | 02:09 น.
อัปเดตล่าสุด :15 มี.ค. 2565 | 09:09 น.

โควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อทะลุเกิน 3 หมื่นราย ปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 16.9% หมอธีระเผยใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่ม 19% คาดจำนวนป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจะยังสูง

โควิดวันนี้รวมatk ยังคงมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) โดยเป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ และติดตาม 

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 19,742

 

  • ATK 13,008

 

  • รวม 32,750

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบเพิ่มขึ้นจาก 1189 คน เป็น 1,390 คน เพิ่มขึ้น 16.9%

 

ใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มจาก 400 คน เป็น 476 คน เพิ่มขึ้น 19%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ ลดลงกว่าสัปดาห์ก่อน 15.07% และลดลงกว่าสองสัปดาห์ก่อน 28.42%

 

คาดว่าจำนวนป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจะยังสูงไปอีกระยะหนึ่ง

ศบค.ควรประคับประคองขาลงให้ดี ตั้งอยู่บนความไม่ประมาท พึงระลึกเสมอว่าปัญหา Long COVID จะเป็นภาระระยะยาวทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยเด็ก และวัยทำงาน 

 

การมุ่งเน้นมาตรการส่งเสริมให้ประชาชนป้องกันตัวระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

 

โควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อยังทะลุ 3 หมื่นราย

 

หมอธีระยังโพสต์ด้วยว่า

 

อัพเดตงานวิจัย

 

Vivaldi G และคณะ ได้ทำการศึกษาติดตามประชากรอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป จำนวน 14,713 คน ตั้งแต่มกราคมปีก่อนจนถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยประชากรที่ศึกษาทั้งหมดนั้นได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้วและจำนวน 10,665 คนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

หากเปรียบเทียบกันเรื่องชนิดวัคซีนที่ฉีด 

 

พบว่ากลุ่มที่ได้วัคซีน ChAdOx1 จะมีความเสี่ยงที่จะการเกิดการติดเชื้อในช่วงที่ติดตามผล (breakthrough infection) มากกว่ากลุ่มที่ได้วัคซีน BNT162b2  1.63 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.41-1.88 เท่า)

โดยหากเปรียบเทียบทั้งสองกลุ่มหลังได้รับเข็มกระตุ้น โดยกลุ่มที่ได้ ChAdOx1 มาก่อนและได้รับเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA-1273 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้ BNT162b2 มาก่อนและรับเข็มกระตุ้นด้วย BNT162b2 ผลก็ออกมาคล้ายกันคือ 1.29 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.03-1.61 เท่า)

 

นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่สำคัญคือ ประชากรที่มีระดับการศึกษาที่ต่ำกว่าจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่า และประชากรที่มีพฤติกรรมเสี่ยงระหว่างการดำเนินชีวิตประจำวัน คือการเข้าไปในสถานที่ปิด/พื้นที่ภายในอาคารบ่อยๆ อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ (indoor public space)

 

ผลจากการวิจัยในสหราชอาณาจักรชิ้นนี้ ตอกย้ำถึงความสำคัญของการให้ความรู้ และกระตุ้นเตือนให้เกิดความตระหนักของประชาชนในสังคม ที่จะป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อแพร่เชื้อระหว่างการใช้ชีวิตประจำวัน