เกาะติดประเด็น “ปรับค่าไฟฟ้า” หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. มีมติปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ ค่า Ft จากเดิม 1.39 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะปรับราคาเรียกเก็บในงวดเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2565 โดยอ้างผลกระทบความขัดแย้ง "รัสเซีย-ยูเครน" ทำให้ราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้น
ล่าสุด สภาองค์กรของผู้บริโภคยื่นหนังสือคัดค้านกับการปรับราคาไฟฟ้า โดยระบุว่า กกพ. ได้ปรับค่า Ftเพิ่มขึ้น จะทำให้ไปรวมกับค่าไฟฟ้าฐานปรับราคาสูงขึ้นเป็น 4 บาทต่อหน่วย จากเดิม 3.76 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ผู้บริโภค หรือประชาชนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น จึงยื่นหนังสือต่อกระทรวงพลังงานพร้อมข้อเสาอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาไฟฟ้า ที่มองว่าค่าไฟฟ้าสูงขึ้นไม่ใช่จากภาวะสงครามหรือราคาก๊าซธรรมบาติขยับสูงขึ้น แต่มีปัจจัยอื่น เช่น การวางแผนการผลิตไฟฟ้าที่ขาดการคำนึง จนมีพลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็น
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งปี 46,136.4 เมกะวัตต์ ขณะที่มียอดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีละ ประมาณ 30,000 เมกะวัตต์ (อ้างอิงปี 2562-2564) ซึ่งทำให้มีไฟฟ้าล้นความต้องการ ปีละ 10,000เมกะวัตต์ คิดเป็น มีกำลังผลิตสพรองสูงถึง 50% ทั้งที่ตามหลักการจะต้องมีกำลังผลิตสำรองไฟฟ้า 15%เท่านั้น จากปริมาณไฟฟ้าผลิตสำรองที่มากถึง50% ส่งผลให้ต้องรัฐต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า หรือค่า ปีละ 49,000 ล้านบาทต่อปี ให้กับเอกชนเจ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
นอกจากนี้ ประชาชน ต้องแบกรับภาระ จากที่รัฐรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กในราคาสูงถึง 4 บาทต่อหน่วย แต่ละปี มีปริมาณการซื้อไฟฟ้ามากถึง 18,014 ล้านหน่วย เป็นเงินกว่า 73,261 ล้านบาท ซึ่งสิ้นเปลือง และเป็นราคาที่แพง
อีกทั้งที่ผ่านมาประชาชนต้องรับภาระค่าสถานีบริการและค่าผ่านท่อ จากไฟฟ้าที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ โดยใช้ราคา Pool ก๊าซ ตามหลักแล้วก๊าซธรรมชาติได้จากอ่าวไทย ตามข้อเท็จจริงไม่ควรคิดรวมกัน สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงมีข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อให้ดำเนินการ อาทิ