ระยะฟักตัวโควิดนานแค่ไหน เชื้อไม่มีทางหมดไปจากโลกได้จริงหรือไม่ อ่านเลย

21 เม.ย. 2565 | 02:45 น.
อัปเดตล่าสุด :21 เม.ย. 2565 | 09:45 น.

ระยะฟักตัวโควิดนานแค่ไหน เชื้อไม่มีทางหมดไปจากโลกได้จริงหรือไม่ อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอยงวิเคราะห์สถานะปัจจุบันก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือโรคประจำฤดูกาล

ระยะฟักตัวของเชื้อโควิดอยู่ที่เท่าไหร่ โควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้หรือไม่ เป็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้ และต้องการคำตอบ

 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความว่า

 

โควิด 19 สถานะปัจจุบันก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือโรคประจำฤดูกาล
Covid-19 (โควิด-19) ก่อนเข้าสู่โรคประจำถิ่น

 

  • เราไม่สามารถที่จะกำจัดไวรัส covid-19 ให้หมดไปจากโลกใบนี้ของเราได้ เราจะต้องอยู่กับไวรัสนี้ตลอดไป

 

  • การระบาดของโรคในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มการติดต่อง่ายขึ้น และความรุนแรงของโรคลดลง จากการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มาโดยตลอด

 

 

  • ระยะฟักตัวของโรคสั้น 2 ถึง 5 วัน แนวโน้มในการกักตัวสั้นลง เป็น 7 + 3 หมายถึงกักตัวแค่ 7 วัน และอีก 3 วันใช้วิธีการดูแลป้องกันการแพร่กระจายโรค

 

  • ไม่มีการหา time line เพราะโรคกระจายอยู่ทั่วไป จึงเป็นการยากที่จะบอก

 

  • การระบาดเกิดกลุ่มในครอบครัว ได้ง่าย จึงทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก เมื่อติดเชื้อแล้วก็จะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นมาด้วยเช่นกัน ในอนาคตการระบาดในโรงเรียน สถานที่มีคนหมู่มากเกิดขึ้นได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ที่เราได้พบเห็น 

 

ระยะฟักตัวโควิดนานแค่ไหน เชื้อไม่มีทางหมดไปจากโลกได้จริงหรือไม่

 

  • ความรุนแรงของโรค จะพบในกลุ่มเปราะบาง อายุมาก มีโรคประจำตัว

 

  • การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยวัคซีนมีความจำเป็น ลดความรุนแรงของโรค จำเป็นที่จะต้องมีเข็มกระตุ้น

 

  • ยาต้านไวรัส จะมีการพัฒนาออกมา และจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น เพื่อใช้กับกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดโรครุนแรง
     
  • การศึกษาวิจัยให้ได้องค์ความรู้ มาใช้ประโยชน์ในการควบคุมโรค ป้องกัน รักษามีความจำเป็น

 

  • มาตรการในการป้องกันโรค สุขอนามัย ล้างมือ หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่าง ยังมีความจำเป็น จนกว่า โรคนี้จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น หรือประจำฤดูกาลเช่นโรคทางเดินหายใจทั่วไป การใช้ต่อไปก็มีประโยชน์ต่อโรคทางเดินหายใจเช่นเดียวกัน

 

ถึงแม้ว่าจะเข้าสู่โรคประจำถิ่น  หรือตามฤดูกาล ก็ยังคงต้องติดตามความรุนแรงของโรค การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ของโรคให้อยู่ในสภาวะควบคุมได้