โควิดสายพันธุ์ใหม่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากโอมิครอน (Omicron) ซึ่งปัจจุบันมีสายพันธุ์ย่อยเป็นจำนวนมาก
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
อัพเดตสายพันธุ์ Omicron BA.4 และ BA.5
หากจำกันได้ ไม่กี่วันก่อนทางองค์การอนามัยโลกระบุในรายงาน WHO Weekly Epidemiological Update
ว่าต้องจับตาดูสายพันธุ์ย่อยของ Omicron คือ BA.4, BA.5, และ BA.2.12
ข้อมูลล่าสุดเมื่อคืนนี้จาก Sigallab ประเทศแอฟริกาใต้ ยืนยันว่าภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดิมของ Omicron คือ BA.1 นั้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ได้
ด้วยความรู้จนถึงตอนนี้ BA.4 และ BA.5 น่าจะมีโอกาสที่จะนำไปสู่การแพร่ระบาดใหม่ (new wave) ได้ หากไม่ป้องกันให้ดี
เพราะมีสมรรถนะในการแพร่ได้ไวกว่า BA.2 และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิมของ Omicron BA.1
เชื่อว่าสายพันธุ์ทั้งสองน่าจะมาจากการมีแหล่งที่เพาะบ่มการติดเชื้อเป็นเวลานาน เช่น
คนที่ติดเชื้อเรื้อรัง (chronic infection) หรือมาจากสัตว์ที่เป็นรังโรค (reservoir)
ไทยเรานั้น เปิดประเทศเดือนพฤษภาคม จะมีคนเดินทางมามากขึ้น การป้องกันตัวระหว่างการดำเนินชีวิตเป็นสิ่งที่จำเป็น
เพราะปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในสังคมมีมาก ทั้งเรื่องการเปิดเรียน
และจำนวนการติดเชื้อใหม่รายวันที่สูงติดอันดับ Top ten ของโลกมาอย่างต่อเนื่องเกือบ 6 สัปดาห์แล้ว
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลสถานการร์การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทย วันที่ 30 เม.ย. 65 จากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค. พบว่า