วันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2565 ซึ่งผู้ใช้แรงงานได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดมาตรการและนโยบายที่ช่วยทำให้ชีวิตของแรงงานผู้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ วันนี้พามาดู สถานะประชากรแรงงานไทยปี 2564 ว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ในปี 2564 ประชากรวัยแรงงานอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 57.09 ล้านคน อยู่ในกำลังแรงงาน 38.7 ล้านคน เเละนอกกำลังแรงงาน 18.4 ล้านคน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ระบุว่า ไตรมาส 4 ปี 2564 การจ้างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 37.9 ล้านคน อัตราการมีงานทำปรับตัวดีขึ้น โดยเพิ่มขึ้นเป็น 98.1% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อนที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 98.0% และ 97.6%
ขณะที่ การว่างงาน มีผู้ว่างงาน 6.3แสนคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.64 ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อนมี 3.8 แสนคน ลดลงร้อยละ 21.7 ผู้ว่างงานที่เป็นแรงงานจบใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1
เฉพาะกลุ่มผู้ที่จบระดับอุดมศึกษา โดยส่วนใหญ่ร้อยละ 49.3 จบการศึกษาในสาขาทางด้านธุรกิจและสังคมศาสตร์ สะท้อนปัญหา mismatching ของตลาดแรงงาน การว่างงานในระบบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน โดยมีอัตราการว่างงานของแรงงานในระบบที่ ร้อยละ 2.27
อ่านเพิ่มเติม รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่เเละภาพรวมปี 2564
สำหรับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2563 แบ่งออกเป็น 10 ราคา ตามเขตพื้นที่ คือ 313, 315, 320, 323, 324, 325, 330, 331, 335 และ 336 บาท
อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับ 10
ค่าแรงขั้นต่ำ 2565 แยกตามพื้นที่ 77 จังหวัด