โควิด19วันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 1.1 หมื่นราย หมอธีระชี้ตายสูงที่ 7 โลก

10 พ.ค. 2565 | 11:02 น.
อัปเดตล่าสุด :10 พ.ค. 2565 | 18:02 น.

โควิด19วันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 1.1 หมื่นราย หมอธีระชี้ตายสูงที่ 7 โลกคิดเป็น 28.94% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

โควิด19วันนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชาชน ทั้งจำนวนของผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน และผู้เสียชีวิต

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 6,230

 

  • ATK 3,424

 

  • รวม 11,433

 

จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ 1,669 คน สัปดาห์ก่อน 1481 คน ลดลง 11.26%

 

จำนวนผู้ป่วยใช้ท่อช่วยหายใจ 804 คน สัปดาห์ก่อน 715 คน ลดลง 11.06%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ น้อยกว่าสัปดาห์ก่อน 34.49% และน้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 53.64%

 

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 129 คน (ชาย 37, หญิง 91, ไม่ระบุ 1)

 

หมอธีระ โพสต์ด้วยว่า

 

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

 

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 7 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม

 

โควิด19วันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 1.1 หมื่นราย

 

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.94% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

 

อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนระบาด (Excess mortality rate)

 

หากดูกราฟจะพบว่านับตั้งแต่ระลอกสองเมื่อปลายปี 2020 ระลอกสามตั้งแต่เมษายน 2021 และระลอกสี่ตั้งแต่ต้นปี 2022 ประเทศไทยมี excess mortality rate สูงถึง 10%, >30%, และ >25% ตามลำดับ ซึ่งย่อมสะท้อนถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการไม่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ทั้งนี้แม้อัตราการเสียชีวิตส่วนเกินนั้นจะมาจากทุกสาเหตุก็ตาม แต่เป็นการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 (covid-19) จึงบ่งถึงผลกระทบที่เกิดจากโควิด-19 ไม่ได้ 

 

ทั้งทางตรง (เสียชีวิตจากโควิด) และทางอ้อม (เสียชีวิตจากสาเหตุอื่น เช่น ป่วยโรคอื่นแต่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดูแลรักษาได้จากสถานการณ์ระบาด ฯลฯ)
เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่า

 

การบริหารจัดการนโยบายสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรค และควบคุมการระบาดให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นย่อมจะมีโอกาสที่จะเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการมาไล่จัดการการระบาดหลังจากระบาดมากไปแล้ว 

 

เพราะจะจัดการได้ยากลำบาก และส่งผลต่อความสูญเสียและผลกระทบระยะยาว ทั้งจำนวนติดเชื้อ จำนวนป่วย จำนวนเสียชีวิต ที่สำคัญคือจำนวนคนที่จะเป็น Long COVID (ลองโควิด) ในอนาคต

 

10 พฤษภาคม 2565

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 306,415 คน ตายเพิ่ม 961 คน รวมแล้วติดไปรวม 517,567,394 คน เสียชีวิตรวม 6,277,503 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เยอรมัน ไต้หวัน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 68.33% ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 76.17%

 

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็น 41.27% ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 19.77%