ประเด็นการค้ามนุษย์และแรงงานข้ามชาติ ยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ก่อนหน้านี้กระทรวงต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาเผยแพร่รายงานการติดตามและการดำเนินงานต่อต้านการค้ามนุษย์ หรือ Trafficking in Persons Report-ทิปรีพอร์ต ประจำปี 2021
โดยไทยถูกลดระดับ จากเทียร์ 2 สู่เทียร์ 2 วอตช์ลิสต์ ง่ายๆก็คือ ว่า เป็นประเทศที่ต้องจับตามอง เฝ้าระวัง
ล่าสุด พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการดำเนินงานปราบปรามการค้ามนุษย์ตอนหนึ่ง ว่าตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน รัฐบาลได้ขับเคลื่อนงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตามข้อเสนอแนะของรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ประจำปี 2564 จำนวน 15 ข้อ
ซึ่งมีความก้าวหน้า เช่น การจัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน และคู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และกำหนดให้นายจ้างต้องจัดทำสัญญาจ้างเป็นภาษาไทยและภาษาที่ลูกจ้างต่างด้าวเข้าใจ เป็นต้น
รัฐบาลยังได้ริเริ่มโครงการที่สำคัญเพิ่มเติมเพื่อยกระดับมาตรฐานการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างยั่งยืน ได้แก่
ทำให้สถิติการค้ามนุษย์ในปี 2563 เมื่อเทียบกับ 2562 ลดลงจาก 286 คดี เหลือ 133 คดี แสดงให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกิดการป้องกันหรือปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างยั่งยืนต่อไป ดังนั้นประเทศไทยจึงสมควรได้รับการพิจารณาอันดับดีขึ้น เป็นเทียร์ 2 ในปี 2565
ข้อมูล สำนักแผนงานและงบประมาณ ศาลยุติธรรม รายงานจำนวนคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ที่เข้าสู่การพิจารณาพิพากษาของศาลทั่วราชอาณาจักร ระหว่างเดือน มกราคม - ธันวาคม 2564 มีคดีที่เข้าสู่การพิจารณาทั้งหมด 402 คดี และคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จจำนวน 223 คดี
รูปแบบความผิดในฐานการ "ค้ามนุษย์" จากข้อมูลทั้งหมด 402 คดี
การจัดลำดับในรายงานสถานการณ์ค้ามนุษย์ (เทียร์ 1 – 3)
สำหรับรายงานประจำปี เรื่อง สถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) เป็นรายงานที่กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐ จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี ตามกฎหมายว่าด้วยการปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์ (Trafficking Victims Protection Act of 2000 หรือ TVPA)
เพื่อรายงานต่อรัฐสภาสหรัฐ โดยเปรียบเทียบสถานการณ์การค้ามนุษย์ของทั่วโลกกับมาตรฐานของสหรัฐ และจัดลำดับประเทศต่างๆ ออกเป็น 4 ระดับ
อย่างไรก็ตาม กฎหมาย TVPA กำหนดเพิ่มด้วยว่า ประเทศที่ถูกจัดอยู่ในระดับเทียร์ 2 เฝ้าระวัง เช่น ประเทศไทย หากอยู่ในระดับนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปี ปีถัดไปอาจถูกปรับลดระดับลงสู่เทียร์ 3 โดยอัตโนมัติ
เว้นแต่ว่าจะสามารถแสดงหลักฐานได้ว่าในรอบปีที่ผ่านมา มีพัฒนาการที่สำคัญที่สมควรได้รับการปรับระดับขั้นจากเทียร์ 2 เฝ้าระวัง ให้เป็นเทียร์ 2 หรือเทียร์ 1 หรือมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะได้รับยกเว้นจากการถูกปรับลดระดับโดยอัตโนมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ
โดยประเทศนั้นๆ จะต้องสามารถแสดงแผนงานที่จะใช้ความพยายามเพิ่มขั้นในการต่อต้านการค้ามนุษย์และทุ่มเททรัพยากรเพียงพอที่จะดำเนินการตามแผนงาน