"ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็ก" เกิดจากโควิด19 หรือไม่ อันตรายแค่ไหน อ่านด่วน

17 พ.ค. 2565 | 08:52 น.
อัปเดตล่าสุด :17 พ.ค. 2565 | 15:52 น.

"ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็ก" เกิดจากโควิด19 หรือไม่ อันตรายแค่ไหน อ่านด่วนเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระเผยผลวิจัยจากโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า

 

การติดเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19) กับความผิดปกติของตับในเด็กเล็ก (ภาวะตับอักเสบรุนแรง)

 

ทีมวิจัยจากโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ศึกษาในเด็กอายุ 1-10 ปี จำนวนถึง 796,369 คน

 

โดยมีเด็ก 245,675 คนที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ตั้งแต่มีนาคม 2020 ถึงมีนาคม 2022

 

เปรียบเทียบกับเด็ก 550,694 คนที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ที่ไม่ใช่โรคโควิด-19 ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน

 

ผลการศึกษาพบว่า แม้จะผ่านไปแล้วนานถึง 6 เดือน เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 นั้นจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค่าเอนไซม์ตับสูง

 

มากกว่ากลุ่มเด็กที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ถึง 2.52 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 2.03 เท่า-3.12 เท่า) 

จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาค่า total bilirubin สูง มากกว่ากลุ่มเด็กที่ติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นๆ ถึง 3.35 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 2.16 เท่า-5.18 เท่่า) 

 

งานวิจัยนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในเด็ก ว่าจะเกิดผลกระทบตามมาระยะยาวหลังการติดเชื้อ

 

ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวจะเชื่อมโยงไปถึงความสัมพันธ์ของการติดเชื้อโรคโควิด-19 กับปัญหาภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็กเล็กที่พบทั่วโลกขณะนี้หรือไม่ คงต้องติดตามดูกันต่อไป

 

ภาวะตับอักเสบรุนแรงในเด็ก เกิดจากโควิด19 หรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

หมอธีระ โพสต์ด้วยว่า 

 

จนถึงวันนี้ 
เด็กเล็ก 5-11 ปี ได้วัคซีน 2 เข็มไปเพียง 22.1%

ส่วนภาพรวมประเทศไทยมีคนได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นไป 39%

 

ถ้าดูเฉพาะผู้สูงอายุ จะได้เข็มกระตุ้นไป 42.6%

 

คงต้องระวังหากใครบางคนบางกลุ่มคิดจะเข็นนโยบายเลียนแบบบางประเทศ ในลักษณะ "Let it rip"

 

เพราะสุดท้ายแล้ว พอเกิดประกายไฟกระเด็นมาโดนเชื้อไฟที่มีมากมายอยู่นั้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปแบบไฟลามทุ่ง ยากที่จะควบคุมได้ทัน