วัคซีนต้านโควิด19 กำลังมีรุ่นใหม่จริงหรือไม่ ประสิทธิภาพดีแค่ไหน อ่านเลย

17 พ.ค. 2565 | 20:11 น.
อัปเดตล่าสุด :17 พ.ค. 2565 | 20:55 น.

วัคซีนต้านโควิด19 กำลังมีรุ่นใหม่จริงหรือไม่ ประสิทธิภาพดีแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระวัฒน์เผยความคืบหน้าจากรายงานของวารสารนิวอิงแลนด์

วัคซีนต้านโควิด19 เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อตามการพัฒนาของแต่ละบริษัท

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

 

วัคซีนโควิดรุ่นใหม่เริ่มเผยโฉม

 

หมอดื้อ

 

รุ่นใหม่ที่ว่านี้ เป็นการผลิตด้วยเทคโนโลยีใหม่และ/หรือ ส่วนของวัคซีนนั้นต่างจากรุ่นโบราณที่ออกแบบจากโควิดอู่ฮั่นที่ใช้กันมาตลอดจนปัจจุบัน และทำให้มีข้อจำกัดในด้านประสิทธิภาพในการป้องกันการติด แม้ว่าจะยังได้ผลในเรื่องของการกันอาการหนักแต่ไม่เก่งเท่ากับการสู้กับไวรัสรุ่นแรกและทำให้ต้องมีการฉีดกระตุ้น รวมทั้งถ้ามีการติดเชื้อตามธรรมชาติก็ยังต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ
ในรายงานของวารสารนิวอิงแลนด์
 

ตัวแรกคือวัคซีนที่ทำจากใบพืช โดย medicago/GSK โดย GSK ผลิต adjuvant ที่เป็นตัวกระตุ้น innate immunity และทำให้ภูมิคุ้มกัน (adaptive) พี่เฉพาะเจาะจงสำหรับโควิดให้เก่งขึ้นและได้ทำการทดสอบระยะที่สามเรียบร้อยในอาร์เจนตินา บราซิลแคนาดา เม็กซิโก อังกฤษและในสหรัฐเองในช่วง 15 มีนาคมถึง 2 กันยายน 2021 

 

วัคซีนนี้ ที่ผลิตในใบพืชเป็นส่วนโปรตีน และถือว่าเป็น CoVLP (Virus like particle) วัคซีนอนุภาคไวรัสเสมือน โดยไม่มีสารพันธุกรรมของไวรัสเลย ฉีดสองเข็มห่างกันสามสัปดาห์และเปรียบเทียบกับวัคซีนหลอก

 

มีผู้ร่วมการศึกษาทั้งหมด 24,141 คน

 

วัคซีนต้านโควิด19 กำลังมีรุ่นใหม่จริงหรือไม่

 

ทั้งนี้ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 69.5% (95% CI, 56.7-78.8%) ในการป้องกันการเกิดอาการใดๆเมื่อติด

 

ประสิทธิภาพในการป้องกันอาการหนัก ปานกลางถึงรุนแรง (moderate to severe) นั้น สูงถึง 78.8% (95%CI, 55.8% to 90.8%)

 

ทั้งนี้ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนไม่พบผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตเลย

วัคซีนตัวที่สองมาจากประเทศจีน ZF 2001 adjuvanted protein subunit vaccine ทำการทดสอบใน 31 แห่งด้วยกัน ในประเทศ Uzbekistan อินโดนีเซียปากีสถาน เอกวาดอร์ และในประเทศจีน ทั้งนี้วัคซีนผลิตโดยบริษัท Anhui Zhifei Longcom ในจีน เป็น dimeric form ของ RBD และผลิตใน chinese hamster ovary cells

 

ในการศึกษาได้รับสามเข็มของวัคซีนหรือวัคซีนหลอก ห่างกัน 30 วัน ในช่วงเวลา 12 ธันวาคม 2020 ถึง 15 ธันวาคม 2021

 

ในผู้ร่วมการศึกษา 12,625 คน วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดถึง 75.7% (95% CI, 71-79.8%) และ 87.6% ในการป้องกันอาการรุนแรง (95% CI, 70.6% to 95.7%) 

 

มีสองรายในกลุ่มของวัคซีนและ 12 รายในกลุ่มวัคซีนหลอก เสียชีวิตจากโควิด 
ดังนั้น ประสิทธิภาพในการป้องกันการเสียชีวิตจะอยู่ที่ 86.5% (95%CI, 38.9% to 98.5%) 

 

ประเทศไทยและคนไทยต้องภูมิใจ ที่ทีมใบยา วิจัยและพัฒนาการผลิตโปรตีนจากใบพืชมาตลอดและนำมาใช้แล้วในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆรวมกระทั่งถึงเป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดี  

 

และวัคซีนโควิดใบยา ที่เป็นลักษณะเหมือนกับ วัคซีนใบยาของ medicago และมีตัวประกอบโดยการกระตุ้นภูมิให้ได้สูงขึ้นเช่นกัน คงจะไม่นานเกินรอสำหรับคนไทยแล้ว