“ใบสั่งออนไลน์” โดน "ใบสั่ง" เนื่องจากทำผิดกฎจราจรแล้วไม่มาชำระค่าปรับ ขณะนี้ กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีแนวทางให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น มาตรการนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย.2565 เป็นต้นไป เเละจะย้อนหลังไป 1 ปี ดูใบสั่งที่ยังไม่ขาดอายุความ และจำนวนผู้กระทำความผิดมีใบสั่งจำนวนมากจะดำเนินการตามกฎหมายก่อน
"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวม วิธีลงทะเบียน ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ เงื่อนไขและคำแนะนำในการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชน มาให้ทำความเข้าใจและตรวจสอบกันง่ายๆ ผ่านระบบออนไลน์
วิธีลงทะเบียน-ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์
- เข้าไปที่เว็บไซต์ e-Ticket ใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน (คลิกที่นี่)
- คลิกลงทะเบียนใช้งาน สำหรับใครที่ยังไม่ลงทะเบียน
ข้อมูลการลงทะเบียน
- กรอกเลขประจำตัวประชาชน
- กรอกวัน เดือน ปีเกิด
- ชื่อ-นามสกุล
- กรอกเลขหลังบัตรประจำตัวประชาชน
- กดถัดไป
ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ / ข้อมูลรถที่ครอบครอง
ข้อมูลใบอนุญาต
- กรอกประเภทใบอนุญาต
- ชนิดใบอนุญาต
- เลขที่ใบอนุญาต
- วันที่ออกใบอนุญาต
- วันหมดอายุ
ยืนยันข้อมูล
เงื่อนไขและคำแนะนำการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชน
- เงื่อนไขและคำแนะนำในการเข้าใช้บริการเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชน ผู้ใช้บริการต้องรับรองว่าข้อมูลที่นำมาใช้ในการลงทะเบียนเข้าใช้งานเป็นข้อมูลของตนเองเท่านั้น
- ชื่อผู้ใช้งาน (User) และรหัสผ่าน (Password) ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชน เป็นข้อมูลเฉพาะของเจ้าของข้อมูลที่ลงทะเบียนซึ่งต้องเก็บเป็นความลับ ห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นนำไปใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเปิดเผยให้บุคคลอื่นนำไปใช้งานจนเกิดความเสียหาย เจ้าของชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านนั้นจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเอง
- หากมีผู้อื่นล่วงรู้ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ค่าปรับจราจรออนใลน์สำหรับประชาชนให้ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านทันที เพื่อป้องกันมิให้ผู้อื่นนำไปใช้งานละนำข้อมูลไปใช้จนเกิดความเสียหาย
- ผู้ใช้บริการสามารถเข้าตรวจสอบข้อมูลใบสั่งค้างชำระ ข้อมูลการชำระค่าปรับตามใบสั่ง การบันทึกแต้มหรือข้อมูลอื่นที่มีในฐานข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูลการกระทำผิดจราจรของตนเอง
- การชำระค่าปรับจราจรตามใบสั่งผ่านระบบจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายทันที และไม่สามารถยกเลิกหรือคืนค่าธรรมเนียมได้ไม่ว่ากรณีใด ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อนยืนยันชำระ