วัคซีนเข็ม 5 เป็นการ ฉีดเข็มกระตุ้น หลายคนยังสงสัยว่าจำเป็นหรือไม่ กระทั่งกรณีของ "อนุทิน ชาญวีรกุล” รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ฉีดวัคซีนโควิดเเล้ว 6 เข็ม แต่ยังติดโควิด เรื่องนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำออกมาอย่างเป็นทางการ เพราะข้อมูลยังไม่เพียงพอ และการฉีดวัคซีนเข็มที่ 5 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจแพทย์
แต่หากผู้ประสงค์จะรับก็ให้ติดต่อได้ที่หน่วยบริการฉีดวัคซีน โรงพยาบาล และสถานพยาบาล ซึ่งจะเป็นไปตามหลักการเดิมอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา คือ พิจารณาระยะเวลาให้วัคซีนและชนิดวัคซีนตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น ผู้ที่อาจไปตรวจระดับภูมิฯ มาแล้วพบว่า ภูมิฯ ต่ำ หรือผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศ อย่างผู้ที่จะไปประเทศญี่ปุ่น ที่กำหนดวัคซีนไฟเซอร์ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับได้ หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพทย์ก็จะพิจารณาวัคซีนเข็มกระตุ้นให้
สอดคล้องกับ น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ระบุว่า จากการศึกษาติดตามประสิทธิผลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดของประเทศไทย ซึ่งเป็นการศึกษาในช่วงเดือนมกราคม 2565
ฉีดวัคซีน 2 เข็ม
ฉีดวัคซีน 3 เข็ม
ฉีดวัคซีน 4 เข็ม
สรุปว่า ควรฉีดวัคซีนเข็มที่ 4 เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อของวัคซีน 3 เข็มในระดับ 45-56% ขึ้นมาเป็น 82-85%
วัคซีนเข็มที่ 5
ยกเว้นบางกลุ่มที่มีเหตุผลเฉพาะ
ขณะที่ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้เชี่ยวชาญไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. กล่าวว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ 4-5 ว่า ควรดูที่ความเสี่ยงของแต่ละคน ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 ก็จำเป็น แต่สำหรับคนปกติที่ไม่มีความเสี่ยง ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องฉีดกระตุ้น ฉีดกระตุ้นวันนี้ อีก 2 เดือนผ่านไป ภูมิคุ้มกันก็เท่ากับวันนี้ ภูมิตกค่อนข้างไว
การฉีดวัคซีนที่เกินความจำเป็น