วันนี้(วันนี้ 13 กรกฎาคม 2565 )นาย สามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว แสดงความคิดเห็นให้กำลังใจเหยื่อสาวที่สูญเงินจากการโดนมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นดาราเกาหลีชื่อดัง สุดท้ายเสียรู้หวังคิดสั้นแก้ปัญหา ทั้งที่มีกฏหมายแต่ตำรวจทำงานช้า วิงวอนให้รัฐบาลเร่งแก้ปัญหา โดยนายสามารถกล่าวว่า
วันนี้ขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้เสียหายล่าสุดที่เจอมิจฉาชีพปลอมตัวเป็นดาราเกาหลี แล้วหลอกให้โอนเงินไป 70,000บาท เป็นการหลอกแบบ romance scam เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ยังมีคนถูกหลอกลวง วันนี้การทำงานของตำรวจช้าและล้าหลัง กว่าจะไปอายัดบัญชี เงินก็หายไปหมดแล้ว สุดท้ายบัญชีพวกนี้เป็นบัญชีม้าทั้งสิ้น ตามมาได้แต่เจ้าของบัญชี พวกนี้ถูกจ้างให้มาเปิดบ้าง ถูกหลอกให้มาสมัครงานบ้าง
วันนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้ครอบครัวผู้เสียหายที่แฟนจะฆ่าตัวตายเพราะโดนหลอกลวงสูญเงิน แถมเสียรู้มิจฉาชีพ มันเป็นอะไรที่แย่ที่สุดแล้ว
ผมเข้าใจความรู้สึกพวกนี้ดี ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากร และ รอมาตรการของรัฐบาลมาช่วยเหลือ
ทั้งที่มีกฏหมายหลายฉบับให้เอาผิดไม่ว่าจะเป็น พรบ คอมพิวเตอร์ ฯ ประมวลกฏหมายอาญา
ความผิดมาตรา 16 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ผู้ใดที่แอบอ้างตนเองว่าเป็นบุคคลอื่น โดยการสร้างเพจ Facebook, Twitter, Whatsapp, Line หรือสื่อโซเชียลมีเดียอื่นใด ใช้ภาพและชื่อของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือนำภาพของผู้อื่นมาตัดต่อและดัดแปลง โดยที่เจ้าของภาพไม่ยินยอม จนทำให้ผู้เป็นเจ้าของภาพนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ถือว่ากระทำความผิดจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 60,000 บาททั้งจำ ทั้งปรับ
อีกฉบับก็คือประมวลกฏหมายอาญา
มาตรา341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
มาตรา 342 ถ้าในการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำ
(๑) แสดงตนเป็นคนอื่น หรือ
(๒) อาศัยความเบาปัญญาของผู้ถูกหลอกลวงซึ่งเป็นเด็ก หรืออาศัยความอ่อนแอแห่งจิตของผู้ถูกหลอกลวง
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[อัตราโทษ แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖) พ.ศ. ๒๕๖๐]
ดังนั้นเรื่องนี้ผู้เสียหายสามารถดำเนินการตามกฏหมายได้เลย แต่วิธีการกับกระบวนการของตำรวจต้องทำให้ไวและรวดเร็วเพื่อให้อาชญากรรมประเภทนี้น้อยลง
วันนี้ผมขออนุญาตเอา 10 มุข ยอดฮิตของพวกแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ มาเป็นความรู้ จะได้รู้ทันอาชญากรรมทางเทคโนโลยีแบบนี้ นอกเหนือจาก romanc scam ที่หลอกลวงล่าสุดวันนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (1)โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา