น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า
ป้องกันตนเองจากการเป็นฝีดาษลิง ด้วย 7 หลีกเลี่ยง 2 ควรทำ
จากสถานการณ์การระบาด (Outbreak) ของฝีดาษลิง (Monkeypox) ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกประกาศภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขในระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern) ไปแล้วนั้น
เนื่องจากฝีดาษลิง ได้เริ่มต้นการระบาดระลอกใหม่ เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 จนถึงปัจจุบัน นับได้ประมาณ 2 เดือนเศษ มีการแพร่ระบาดไปแล้วมากถึง 75 ประเทศ ผู้ติดเชื้อมากกว่า 16,000 ราย
ที่สำคัญคือ ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติเดินทางไปทวีปแอฟริกา จึงเป็นการแพร่ระบาดที่ออกนอกเขตโรคประจำถิ่น(Endemic) ในทวีปแอฟริกาแล้ว
ตลอดจนประเทศไทย ได้มีการวินิจฉัยยืนยันผู้ติดฝีดาษลิงรายแรกที่ภูเก็ต
จึงทำให้สาธารณะสนใจว่า ฝีดาษลิงจะต้องดูแลตนเองอย่างไร เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ
เราจะมาสรุปมาตรการที่ทำได้ง่ายง่าย 9 มาตรการ เป็น 7 หลีกเลี่ยง และ 2 ควรทำ ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับหญิงหรือชายที่ให้บริการทางเพศ
2.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือการมีคู่นอนหลายคนที่ไม่ใช่คู่ของตนเอง
3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับบุคคลอื่น ที่ไม่ใช่คนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ชัดเจนว่า มีผื่นตุ่มแดง หรือตุ่มหนอง
4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว เช่น การจับมือ การสวมกอด การหอมแก้ม แม้จะไม่ปรากฏว่ามีผื่นหรือตุ่มให้สังเกตเห็น
5.หลีกเลี่ยงการใช้เสื้อผ้าข้าวของต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน แก้วน้ำ ช้อนส้อม
6.หลีกเลี่ยงการที่ นำมือมาแคะจมูก ขยี้ตา หรือเข้าปาก
7.หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ โดยเฉพาะกลุ่มสัตว์ฟันแทะที่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น หนู กระต่าย เป็นต้น
8.หมั่นล้างมือบ่อยบ่อย
9.ควรใส่หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในสถานที่เสี่ยงและใกล้ชิดกับคนเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ฝีดาษลิงยังไม่น่ากังวลมากเท่ากับโรคโควิด-19 เพราะ
แต่ก็มากกว่าไวรัสโอมิครอนที่ก่อโรคโควิดที่เสียชีวิตเพียง 0.1%
การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเพียงพอ จะทำให้ไม่ตื่นตระหนก และไม่ประมาทเกินเหตุ
โดยการดูแลง่าย ๆ 9 มาตรการดังกล่าวข้างต้น ทุกคนก็จะปลอดภัยจากการติดฝีดาษลิงได้
หมายเหตุ : หลายมาตรการเป็นสิ่งที่ทำเพื่อป้องกัน โควิด-19 อยู่แล้ว เช่น การล้างมือบ่อยบ่อย การใส่หน้ากากอนามัย การไม่นำมือมาสัมผัสกับเยื่อบุที่บอบบาง เป็นต้น