รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความ
อัพเดต Omicron สายพันธุ์ย่อย BA.2.75 (ชื่อเล่น: Centaurus)
Wang Q และทีมงานจาก Columbia University ของสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการวิจัยล่าสุดใน bioRxiv เมื่อวานนี้ 1 สิงหาคม 2565
หากจำกันได้ BA.2.75 นี้พบครั้งแรกในอินเดีย มีการระบาดในประเทศมาก โดยค่อยๆ มีการกระจายไปหลายประเทศทั่วโลก และเป็นที่จับตามองว่าอาจมาเบียด BA.5 ได้ในอนาคต เพราะมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง
ผลการวิจัยประเมินสมรรถนะของ BA.2.75 พบว่า
ดังนั้น จึงสะท้อนให้เห็นว่า การกลายพันธุ์ของไวรัสนั้นยังทำนายได้ค่อนข้างยากว่าจะไปในทิศทางใด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรุนแรง สมรรถนะการแพร่เชื้อ รวมถึงการดื้อต่อภูมิคุ้มกัน จำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอยังเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
สำหรับคำถามว่า BA.2.75 จะระบาดมากขึ้นจนเบียด BA.5 ได้หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังต้องติดตามกันต่อไป ประเทศต่างๆ ที่มี BA.2.75 อยู่นั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ยังไม่พรวดพราด
ปัญหา Long COVID
ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ เช่น อเมริกา สหราชอาณาจักร นั้นมีการติดเชื้อโรคโควิด-19 มากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และได้รับผลกระทบจากปัญหา Long COVID อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องการบั่นทอนคุณภาพชีวิต สมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงาน
ระบบงานที่จะได้รับผลกระทบมีหลากหลาย ทั้งในเรื่องงานที่ใช้แรงงาน งานบริการ งานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ งานที่ต้องคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ ผลกระทบจะเกิดขึ้นให้เห็นในตัวผู้ป่วยแต่ละคน ก่อนที่จะกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว และสุดท้ายจะเกิด Collective forces ที่ส่งผลให้เห็นเรื่องผลิตภาพจากการทำงานโดยรวมขององค์กร/หน่วยงาน และประเทศ พร้อมกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระยะยาวกับทุกระดับ
ดังนั้น ประชาชนจึงควรติดตามองค์ความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัย เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเคยติดเชื้อมาก่อน กำลังติดอยู่ หรือยังไม่เคยติดเชื้อก็ตาม การเตรียมแผนการชีวิตไว้ล่วงหน้าทั้งสำหรับตนเองและสมาชิกในครอบครัวจะเป็นประโยชน์
ย้ำอีกครั้งว่า Long COVID ยังไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันได้อย่างเฉพาะเจาะจงและมีประสิทธิภาพ
การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ รวมถึงคนที่เคยติดมาก่อนก็ควรป้องกันไม่ให้ติดซ้ำ
การฉีดวัคซีนครบโดสจะช่วยลดโอกาสเกิด Long COVID ได้ราว 15%
ยังไม่มีวิธีอื่นใดที่ได้รับการพิสูจน์ตามขั้นตอนมาตรฐานสากลว่ามีผลในการป้องกันและรักษาได้ นอกเหนือไปจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นยา อาหารเสริม สมุนไพร หรืออื่นๆ
หากจับพลัดจับผลูเป็น Long COVID ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจ วินิจฉัย และให้การดูแลรักษา หรือฟื้นฟูสภาพ พร้อมคำแนะนำ
การดูแลสุขภาพตนเองตามหลักการทั่วไป เช่น กินอาหารครบหมู่ นอนพักผ่อนให้พอ ดูแลจิตใจและอารมณ์ รวมถึงการออกกำลังกายนั้น เป็นสิ่งที่คนทั่วไปควรปฏิบัติเป็นกิจวัตร แต่ต้องเน้นย้ำว่ายังไม่มีการพิสูจน์เรื่องผลต่อ Long COVID โดยตรง