thansettakij
ต้องรู้! วิธีรับมือ สิ่งที่ “ควรทำ-ไม่ควรทำ” เมื่อแผ่นดินไหว

ต้องรู้! วิธีรับมือ สิ่งที่ “ควรทำ-ไม่ควรทำ” เมื่อแผ่นดินไหว

29 มี.ค. 2568 | 03:25 น.
อัปเดตล่าสุด :29 มี.ค. 2568 | 03:28 น.

กระทรวงสาธารณสุข แนะวิธีรับมือ “แผ่นดินไหว” สิ่งที่ “ควรทำ” และ “ไม่ควรทำ” พร้อมข้อควรปฏิบัติหลังเกิดแผ่นดินไหว

วิธีรับมือ “แผ่นดินไหว”

ข้อควรปฏิบัติ ขณะเกิดแผ่นดินไหว

สิ่งที่ “ควรทำ”

  • พยายามควบคุมสติ : อยู่อย่างสงบ อย่าวิ่งเข้าออกจากบ้านบ่อยๆ เพราะอาจได้รับบาดเจ็บ
  • หากอยู่ในบ้าน : ให้ยืนหรือหมอบในส่วนที่โครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และอยู่ให้ห่างจากระเบียงและหน้าต่าง
  • หากอยู่ในอาคารสูง : ให้รีบออกจากอาคารโดยเร็ว และหนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
  • หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง : ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่างๆ

ต้องรู้! วิธีรับมือ สิ่งที่ “ควรทำ-ไม่ควรทำ” เมื่อแผ่นดินไหว

สิ่งที่ “ไม่ควรทำ”

  • อย่าขับรถ : ให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
  • อย่าอยู่ใกล้ชายฝั่ง : เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาชายฝั่งหรือตลิ่ง
  • ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาด : เพราะเมื่อสายไฟฟ้าขาดลิฟต์จะติดและควันไฟจะเข้ามาในลิฟต์
  • อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ : หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

 

ข้อควรปฏิบัติ หลังเกิดแผ่นดินไหว

1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียง : ว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายกันที : เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ : เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่นๆ และสิ่งหักพังแทง

4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส : ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

5. อย่าแพร่ข่าวลือ : ควรตรวจสอบแหล่งข้อมูลและข้อเท็จจริงของข่าว ก่อนเผยแพร่