ข่าวโควิดวันนี้ 16 ส.ค. 65 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ช่วงหนึ่งถึงความคืบหน้าในการจัดทำกรอบนโยบาย แนวทางปฏิบัติ และห้วงเวลาดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post pandemic เพื่อการเฝ้าระวังและป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ว่า ทางกรมควบคุมโรคได้เสนอในหลักการความคิดอยู่ 2 เรื่อง คือ การประเมินสถานการความเสี่ยงและการป้องกันมี 4 ประเด็น
ด้านที่ 1 การป้องกัน
1. ทั่วโลกยังมีการเพิ่มจํานวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.5 ระบาด เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว แต่จํานวนผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตไม่สูงมากเมื่อเทียบกับช่วงการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ BA.1/2 และเดลต้า
2. ผลการสํารวจภูมิต้านทานในประชาชนไทยเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 90 ตรวจพบภูมิต้านทานต่อ Spike protein (anti-S) หรือ Nucleocapsid protein(anti-N) แล้ว
3. ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนใช้จริงในไทย พบว่าการฉีด 3 เข็มขึ้นไปในทุกสูตร สามารถป้องกันการป่วยรุนแรง และการเสียชีวิตสูงมากกว่า 90% และต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำ
4. คาดการณ์ว่า โควิด-19 จะมีลักษณะการเกิดโรคในประชากรจะคล้ายคลึงกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่อาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา โดยการป่วยที่รุนแรงเสียชีวิตส่วนใหญ่ จะเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนและกลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคร่วม (กลุ่ม608) ที่รับวัคซีนไม่ครบ
ด้านที่ 2 การรักษา
•จากการประเมิน อาการผู้ป่วยมีแนวโน้มไม่รุนแรง ยกเว้น ใน กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรค รุนแรง และ กลุ่ม 608
•การใช้ยาต้านไวรัส ควรให้เฉพาะกลุ่มที่มีอาการ หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง
•การจัดบริการด้านการรักษาพยาบาล พิจารณาอาการผู้ป่วย
-ถ้าไม่มีอาการให้แยกกักที่บ้าน
-ถ้ามีอาการอื่นๆ จากโรคประจําตัว ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยง หรือ กลุ่ม608 และ/หรือระดับออกซิเจนในเลือดต่ํากว่า 94% ให้รับไว้ในโรงพยาบาล
• ระยะเวลาในการแยกกัก ในกรณีที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ให้แยกกักหลัง ตรวจพบอย่างน้อย 5 วัน จากนั้นให้ปฏิบัติตนแบบ DMH อย่างเคร่งครัดต่ออย่างน้อย อีก 5 วัน
เป้าหมาย : ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิดอย่างปลอดภัย สามารถดําเนินชีวิตได้ปกติ
1. ควบคุมการระบาดให้สถานการณ์ไม่เกินระดับรุนแรงน้อย
• อัตราการครองเตียง อัตราการเสียชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
2. ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการวัคซีนและยาต้านไวรัสได้ง่าย และสะดวก
• กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนโดยสะดวก
• สถานพยาบาลรัฐ เอกชนจัดหายาด้านไวรัสให้บริการอย่างเพียงพอ
3. ประชาชนมีพฤติกรรมป้องกันตนเองอย่างถูกต้องเหมาะสม
• การสวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจ ATK เมื่อมีอาการ
4. กลไกการบริหารจัดการปกติ พร้อมดําเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
แนวทางปฏิบัติ
- ปรับระบบรายงาน การสอบสวนควบคุมกรณี กําหนดกลุ่มก้อนผู้ป่วย
-เร่งการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น
-กระจายยาต้านไวรัสให้เข้าถึงประชาชนสะดวกขึ้น
-คกก.โรคติดต่อจังหวัด/กทม. จัดทําแผนการรองรับการระบาด
-สื่อสารสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือน และให้ข้อแนะนำแก่ประชาชน
-เตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วนใรการรับมือภาวะผิดปกติ
ไทม์ไลน์กรอบแนวปฏิบัติด้านต่างๆตามห้วงเวลา
เดือน ส.ค. 65 คงสถานการฉุกเฉิน
เดือน ก.ย. 65 คงสถานการณ์ฉุกเฉิน
ปรับเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง
เดือน ต.ค. 65 ประกาศโรคระบาดเฉพาะพื้นที่(เมื่อมีเหตุจำเป็น)
เดือน พ.ย-ธ.ค. 65 ประกาศโรคระบาดเฉพาะพื้นที่(เมื่อมีเหตุจำเป็น)
ส่วนการคาดการณ์ฉากทัศน์โควิด-19 ระยะหลังการระบาดใหญ่ (Post pandemic) พบว่าการติดเชื้อรายใหม่อยู่ต่ำกว่าเส้นสีเขียว ถือเป็นเรื่องที่ดี
แต่เมื่อไปดูอาการหนัก ใส่ท่อหายใจกลับไปแตะที่เส้นสีแดง ซึ่งความเสี่ยงยังอยู่ในกลุ่มป่วย 608 ที่เป็นการติดเชื้อถึงปอด
ขณะที่ผู้เสียชีวิตก็อยู่ในเส้นสีแดงเช่นกัน เราจึงต้องร่วมกันรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เข็มกระตุ้นเพื่อลดอัตราเสียชีวิต หากคนบอกว่าติดก็ติดไป ไม่เป็นอะไร แต่ในด้านสาธารณสุขเราต้องป้องกันดีๆ แม้คนแข็งแรงก็ต้องดูแลเรื่องลองโควิด-19 โดยต่างประเทศก็มีคณะกรรมการมาติดตามเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยที่ประชุมหารือว่าทำอย่างไรถึงจะลดผู้เสียชีวิตลงอีก ซึ่งก็คือการป้องกันโดยใช้วัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้นจะช่วยได้มาก