“คนวัยทำงาน” นับเป็นอีกหนึ่งวันที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหา และปัจจัยเสี่ยงสารพัด จากข้อมูลล่าสุดของ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุเอาไว้ภายใต้การรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 พบว่า สุขภาพของคนวัยทำงาน มีความเสี่ยงป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วน ภาวะเครียด และการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น
จากข้อมูล Health Data Center ของกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พบว่า การเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในวัยทำงานมีจำนวนถึง 60,418 ราย เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปี 2561 ที่มีจำนวนผู้ป่วย 52,006 ราย
โดยพบผู้ป่วยมากที่สุดในกลุ่มอายุ 50 - 59 ปี เนื่องจากมีระยะการแฝงตัวนาน ก่อนเกิดโรค อีกทั้งยังไม่แสดงอาการที่ชัดเจน
ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากรูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ประกอบด้วย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมัน ในเลือดสูง และโรคเบาหวาน ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนวัยทำงาน และผลิตภาพแรงงานของประเทศ รวมถึงภาระของระบบสวัสดิการด้านสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา
โดยข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2564 ระบุว่า การรักษาต้องใช้งบประมาณในการรักษาผู้ป่วยประมาณ 6,902 ล้านบาทต่อปี
วัยทำงานเครียด-ฆ่าตัวตายสูง
จากข้อมูลยังรายงานด้วยว่า คนวัยทำงานมีความเครียด และการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ในปี 2565 จำนวนการฆ่าตัวตายของคนในวัยทำงาน (อายุ 20 - 59 ปี) เพิ่มขึ้นเป็น 3,650 คน จาก 3,583 คน ในปี 2564 โดยมีปัจจัยหลักคือ ปัญหาความเครียดสะสมเรื่องงาน เศรษฐกิจ ครอบครัว รวมทั้งภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง
ขณะที่สถิติผู้รับบริการจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ในปี 2565 พบว่า วัยแรงงานอายุ 20 - 59 ปี โทรเข้ามาขอรับบริการปรึกษาเรื่องความเครียดวิตกกังวล จำนวน 11,769 สาย เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มาขอรับบริการสายด่วนจำนวน 10,681 สาย
ส่วนผู้ตอบแบบประเมินสุขภาพจิตผ่านช่องทาง MENTAL HEALTH CHECK-IN ของกรมสุขภาพจิต ในกลุ่มช่วงอายุวัยทำงานมีผู้ตอบแบบประเมิน 6.5 แสนคน โดยพบภาวะเครียดสูงมากที่สุด รองลงมาเป็นเสี่ยงซึมเศร้า และเสี่ยงฆ่าตัวตาย
เสี่ยงเป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม
ขณะเดียวกันคนวัยทำงาน ยังมีความเสี่ยงจะเป็น “โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม” (Computer Vision Syndrome : CVS) หรือโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันและจากการทำงานเป็นเวลานาน ๆ
โดยในปี 2563 สมาคมทัศนมาตรศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Optometric Association) ระบุว่า ประชากรเกือบ 60 ล้านคนทั่วโลก ต้องประสบปัญหาคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม และมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นประมาณ 1 ล้านคนต่อปี
สำหรับประเทศไทย จากการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565 ของ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พบว่า คนไทยใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เฉลี่ย 7 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อพิจารณาตามอาชีพ พบว่าข้าราชการ/เจ้าหน้าที่รัฐ มีการใช้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มากที่สุด เมื่อเทียบกับอาชีพอื่น ซึ่งเฉลี่ยอยู่ที่ 11 ชั่วโมงต่อวัน
หากใช้สายตาเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน เกิน 2 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคคอมพิวเตอร์ วิชั่นซินโดรม โดยจะมีอาการแสบตา ปวดตา ตาแห้ง น้ำตาไหล ปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดไหล่หรือปวดหลัง โดยระดับความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้น ตามระยะเวลาที่ใช้สายตาอยู่หน้าจอ
ดังนั้น จึงควรมีการปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น การพักสายตาทุก 20 นาที การวางจอ ในระยะห่างที่เหมาะสม เป็นต้น