นายแพทย์ ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป เปิดเผยผ่านงานDinner Talk "Medical Hub กับความยั่งยืน"จัดโดยฐานเศรษฐกิจว่า Medical Hub ในความหมายโดยแคบคือภาคบริการทางการแพทย์ที่เน้นดึงคนต่างชาติเข้ามารักษาทางการแพทย์ในประเทศไทย แต่ความหมายโดยกว้างครอบคลุมแลนสเคปทางการแพทย์ใน 4 แขนงคือ Medical service Hub การแพทย์และบริการที่เกิดในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนโดยหมอและพยาบาล นอกจากคนไข้ในประเทศแล้วในละปียังมีคนไข้ต่างประเทศบินตรงเข้ามารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก
Wellness Hub บริการทางสุขภาพที่เกิดนอกโรงพยาบาล มีความสำคัญทางตรงกับ General tourism ส่วนAcademic Hubเป็นบทบาทของโรงพยาบาลขนาดใหญ่และวิทยาลัยการแพทย์ ถ้าไม่มีวิชาการจะไม่มีหมอเก่งๆที่สามารถรักษาโรคซับซ้อนได้ และ Product Hub อุตสาหกรรมและธุรกิจการผลิตยา,สมุนไพรเพื่อจำหน่ายทั้งในและส่งออกเป็น global business ของภาคอุตสาหกรรม
“ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป หรือ THG เรามีเป้าหมายอยากให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี ประเทศไทยมีสุขภาพดีคือมีความมั่งคั่งแบบยั่งยืน ส่วนหนึ่งในนั้นคือ Medical hub ซึ่งแปลงสุขภาพให้เป็นเศรษฐกิจเรื่องปากท้องและยั่งยืนด้วย เพราะเมื่อคนไทยสุขภาพดีจะมีความสัมพันธ์ทางตรงกับประเทศสุขภาพดีผ่านระบบ Medical Hub ในสี่แกนหลัก
ซึ่ง THG มีการดำเนินการทั้ง 4 ส่วนไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือกับ partnerทางรัฐและเอกชนในส่วนของการพัฒนาและยกระดับMedical Service Hub ขณะที่ Wellness Hub เรามี "จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้" และโปรเจคHorizon Rehab Center ในการฟื้นฟู พักฟื้น บำบัดยาเสพติด อดเหล้า-สุรา การร่วมมือกับคณะพยาบาลศาสตร์เช่นมหาวิทยาลัยสยาม ในการผลิตบุคคลากรทางการแพทย์และการคิดค้นยาในการรักษาโรคอย่างต่อเนื่อง”
นายแพทย์ ธนาธิป กล่าวต่อไปว่า ในระยะแรกที่ประเทศไทยมีแนวคิดโปรโมตMedical Tourism หลายภาคส่วนมีความกังวลว่าจะเป็นการทำให้แพทย์ หันไปรักษาคนต่างชาติมากกว่ารักษาคนในประเทศ แต่ปัจจุบันความเชื่อนี้หายไป เพราะพิสูจน์แล้วว่าเมื่อคนไทยสุขภาพดีทำให้หมอ พยาบาลเก่งขึ้นสามารถรักษาโรคยากๆได้มากขึ้น Medical tourism ก็จะมีResourceที่จะใช้ขับเคลื่อน Medical Hub ต่อ
“เราอยากให้คนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ให้ความสำคัญกับนโยบายสุขภาพและทำให้เกิดความมั่งคั่งแบบยั่งยืนไม่ใช่นโยบายแบบชั่วข้ามคืน รวมทั้งการเพิ่มฐานรากInfrastructure ก็คือคน เพราะ Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานทักษะเฉพาะ และใช้จำนวนบุคลากรจำนวนมาก คนไข้ 1 เตียงใช้บุคลากรทางการแพทย์ 8 คน ใน 8 คนนั้น 4-5 คนเป็นคนที่มีความสามารถในการการรักษาเฉพาะทาง เป็นคนที่ต้องการสกิลและมีราคาแพง เพราะฉะนั้นการรักษากำลังการผลิตเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะพยาบาลที่ขาดแคลน ทำให้เราไม่สามารถขยายโรงพยาบาลได้
ตอนนี้ในประเทศไทยมีคณะพยาบาลศาสตร์ 80 แห่ง กำลังการผลิตอยู่ที่ 15,000 คนต่อปี แต่ในระยะหลังๆมีคนสนใจเข้ามาเรียนพยาบาลแค่ 8,000 ต่อปี ต่างจากเมื่อ 30 ปีที่แล้วที่อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ดีอันดับ 1 เป็นTop of mind คนอยากเป็นพยาบาลเพราะมีเกียรติ แต่ตอนนี้ลดลงเพราะ Generationใหม่ๆ ทั้ง Gen Y Gen Zไม่อยากทำงานบริการและเป็นบริการที่ใช้วิชาการทั้งสูงด้วย เราอยากให้บรรจุพยาบาลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ไม่ให้พยาบาลหายไปทำอาชีพอื่นเพราะไม่ได้รับการบรรจุ ทำให้เราเสียแรงงานดีๆออกจากระบบ เพราะฉะนั้นจะต้องคีฟพยาบาลดีๆให้อยู่ในระบบด้วยผลตอบแทนที่ดี”