เตือน! สารเพิ่มความหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาลเสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์

06 มี.ค. 2566 | 01:35 น.

เตือน! สารเพิ่มความหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาลเสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์ หมอธีระวัฒน์เผยผลวิจัยค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการอักเสบ และเส้นเลือดตัน ระบุสาร polyols มีความสัมพันธ์ร่วมชัดเจน

สารเพิ่มความหวานเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการลดการรับประทานน้ำตาล

แต่ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสารเพิ่มความหวานดังกล่าวกลับมีอันตรายที่แฝงมาด้วย

ล่าสุดศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

สารเพิ่มความหวานในเครื่องดื่ม ไร้น้ำตาลกลับเสี่ยงหัวใจวาย อัมพฤกษ์

หมอธีระวัฒน์ บอกว่า รายงานในวารสารเนเจอร์  27 กุมภาพันธ์ 2023 เป็นงานต่อเนื่องตั้งแต่การค้นพบความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์ในลำไส้กับการอักเสบ และเส้นเลือดตันที่รายงานในวารสารนิวอิงแลนด์และเนเจอร์ในปี 2013 และเริ่มพบ ว่า สาร polyols มีความสัมพันธ์ร่วมชัดเจน

งานในปี 2023 นี้พบว่า สาร erythritol ทำให้เกร็ดเลือดไวขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงของเส้นเลือดตัน
 

หมอธีระวัฒน์ บอกอีกว่า การศึกษาเริ่มจาก un targeted metabolomics ในคน 1157 รายที่มา ประเมินความเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจ (discovery cohort) โดยได้ทำการสวนเส้นเลือดหัวใจ จนพบว่าระดับของสาร polyol โดยเฉพาะ erythritol สัมพันธ์กับโรคหัวใจและอัมพฤกษ์มากขึ้นหลังจากติดตามสามปี

การศึกษาต่อมาเฉพาะเจาะจง targeted metabolomics คนอเมริกัน 2,149 ราย และคนในยุโรป 833 ราย (validation cohort) ที่มาตรวจประเมินความเสี่ยงของโรคหัวใจ 

โดยมีข้อมูลความรุนแรงและการติดตามก่อนหน้านั้นหลายปี พบความสัมพันธ์ชัดเจนระหว่างระดับของ erythritol กับ ความเสี่ยงที่สูงขึ้น
(fourth versus first quartile adjusted hazard ratio (95% confidence interval), 1.80 (1.18–2.77) and 2.21 (1.20–4.07), respectively). 
 
และการทดสอบการทำงานของเกร็ดเลือดพบว่ามีการกระตุ้นเพิ่มขึ้นทั้งในหลอดทดลองและเพิ่มการเกิดเส้นเลือดตันในหนูทดลอง

หมอธีระวัฒน์ บอกต่อไปอีกว่า การศึกษาต่อมาเฉพาะเจาะจงโดยอาสาสมัครแปดรายกิน erythritol 30 กรัม ที่เป็นขนาดปกติในเครื่องดื่มหรือใน ไอศครีมคีโต พบระดับในเลือดสูงลอยมากอยู่จนสองวันถัดมา

อย่างไรก็ดีอาจต้องมีการหาความสัมพันธ์เป็นเหตุเป็นผลกันให้ชัดเจนขึ้นในเวลาอันใกล้

  • Monk fruit หล่อฮั่งก้วย
  • Strevia หญ้าหวาน

ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 ถึง 400 เท่า

และในผลิตภัณฑ์ต่างๆอาจเพิ่มเติม erythritol เพื่อให้สะดวกในการใช้ขึ้น