นายแพทย์ สาริศ อารยะพงษ์ แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า ข้อแนะนำและแนวทางการดูแลสุขภาพสำหรับผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง (survivorship) เพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับการดูแลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม การเงิน ตลอดจนสุขภาพทางเพศ จึงต้องอาศัยทีมสหสาขาวิชาชีพร่วมกันดูแล เนื่องจากปัญหาที่พบบ่อยมักมีสาเหตุจากผลข้างเคียงระยะยาวจากตัวโรคและวิธีการรักษา
ทั้งนี้ โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีโอกาสรักษาหายได้เพียงแต่ไม่ใช่ทุกราย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ดังนั้น การคัดกรองโรคมะเร็งและการตรวจร่างกายเป็นประจำจึงมีความสำคัญ การตรวจให้พบเจอตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจึงช่วยเพิ่มโอกาสรักษาหายสูง รวมถึงมะเร็งบางชนิดสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus), วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
"นิยามของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็ง (cancer survivor) หมายรวมถึง ผู้ป่วยทุกคนที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง ผู้ป่วยที่ตรวจไม่พบแล้วเป็นเวลาหลายปีหลังสิ้นสุดการรักษา ผู้ป่วยระยะลุกลามที่กำลังรักษาและควบคุมโรคให้สงบได้นาน และผู้ป่วยที่กำลังรับการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงกลับมาเป็นซ้ำ"
นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ในปี 2561 คนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ วันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี
อย่างไรก็ตาม พบผู้รอดชีวิตจาก "โรคมะเร็ง" สูงขึ้นจากสถิติประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้รอดชีวิตจากประมาณ 3 ล้านคนในปี 2514 เพิ่มเป็น 18 ล้านคนในปี 2565 อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยที่เกิน 5 ปีขึ้นไป สูงขึ้นจาก 49% เป็น 68% อัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยที่เกิน 20 ปีขึ้นไปถึง 18% และอัตราเสียชีวิตลดลงถึง 33%
ซึ่งเป็นผลมาจากเทคนิคการรักษาที่พัฒนาขึ้นตลอดเวลา การตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพเข้าถึงง่าย การได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งบางชนิด การรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อลดพฤติกรรมและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ