ผวา!โควิดสายพันธุ์ใหม่ EG.5.1 แพร่ระบาดไวกว่า XBB.1.16 ถึง 52%

10 ก.ค. 2566 | 01:14 น.

ผวา!โควิดสายพันธุ์ใหม่ EG.5.1 แพร่ระบาดไวกว่า XBB.1.16 ถึง 52% หมอธีระเผยข้อมูลคาดประมาณใน New York จาก Rajnarayanan R. ระบุ Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB.1.16.x ยังมีสัดส่วนการระบาดสูงสุดกว่า 30% ในสหรัฐฯ

โควิด 19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และยังคงมีการกลายพันธุ์ไม่หยุด

ล่าสุดมีสายพันธุ์ที่ชื่อว่า EG.5.1 ซึ่งมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความ โดยมีข้อความเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ EG.5.1 ว่า

EG.5.1 เหลนของ XBB.1.9 เมื่อเทียบตัวต่อตัวแล้ว มีสมรรถนะการขยายตัวของการระบาดมากกว่า XBB.1.16 

ที่ครองการระบาดทั่วโลกขณะนี้ถึง 52% โดยเป็นข้อมูลคาดประมาณใน New York จาก Rajnarayanan R.

หมอธีระ บอกอีกว่า สถานการณ์ในอเมริกานั้น ข้อมูลจาก US CDC ล่าสุดชี้ให้เห็นว่า Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB.1.16.x ยังมีสัดส่วนการระบาดสูงสุดกว่า 30%

รองลงมาคือ XBB.1.5.x, XBB.1.9.x, XBB.2.3, และ EG.5 

ทั้งนี้ "EG.5" มีอัตราการตรวจพบสูงขึ้นมาอย่างรวดเร็ว โดยพบเฉลี่ยทั้งประเทศราว 13% แต่จะพบในสัดส่วนที่สูงในแถบตอนกลางและตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกา จึงถือเป็นสายพันธุ์ย่อยที่ทั่วโลกกำลังจับตาเฝ้าระวัง
 

ด้านการระบาดเป็นกลุ่มก้อนในโรงพยาบาลที่โอกินาว่านั้น แถลงการณ์จาก Okinawa Prefectural Chubu Hospital เมื่อวานนี้ 7 กรกฎาคม 2566 สะท้อนถึงสถานการณ์ระบาดในโอกินาว่าที่หนัก

โควิดสายพันธุ์ใหม่  EG.5.1 แพร่ระบาดไวกว่า XBB.1.16 ถึง 52%

โดยในโรงพยาบาลมีการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน 39 ราย ซึ่งเป็นบุคลากรโรงพยาบาล 16 ราย และผู้ป่วยอีก 23 ราย ที่ทำการสอบสวนโรคแล้วพบว่าน่าจะเป็นการแพร่เชื้อติดเชื้อกันในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลจึงออกประกาศขอให้ทุกคนสวมหน้ากาก และป้องกันตัวตามมาตรการต่างๆ เพื่อลดการแพร่ระบาด 

หมอธีระบอกออีกว่า ภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ภายหลังจากติดเชื้ออาจอยู่ได้สั้นกว่าที่คาด โดยทีมวิจัยจากจีนและเยอรมัน ได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ Virologica Sinica เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ศึกษาในกลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 81 ราย โดยติดตามประเมินภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ประเภท T-cells (ซึ่งทางการแพทย์คาดว่าจะเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่จะช่วยต่อสู้กับเชื้อในระยะยาว และช่วยลดความรุนแรงของโรคหากเกิดติดเชื้อในอนาคต)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยติดเชื้อส่วนใหญ่ราว 3 ใน 4 (75%) จะมีระดับภูมิคุ้มกันลดลงอย่างมาก โดยหลังติดเชื้อ 10 เดือน การตอบสนองของ CD4 T-cell และ CD8 T-cell จะลดลงไปถึง 82% และ 76% 

นอกจากนี้ T-cell responses นี้ ยิ่งอายุมาก หรือเวลาผ่านไปนาน ก็จะลดลงไปมากขึ้น

ผลการศึกษานี้น่าสนใจ เพราะแต่เดิมมีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันระดับเซลล์นั้นจะคงอยู่ได้ยาวนาน บางการศึกษาจะตรวจพบได้นานไปถึง 15-18 เดือน แต่งานวิจัยก่อนหน้านั้นมักศึกษาในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนมาก่อน 

ขณะที่การศึกษานี้เป็นการศึกษาในกลุ่มติดเชื้อเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ อาจต้องรอดูการศึกษาอื่นๆ มาประกอบ เพื่อให้แน่ใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้ก็เป็นข้อมูลที่อาจชี้ให้เห็นความสำคัญของการได้รับวัคซีน ซึ่งอาจมีส่วนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ให้อยู่ได้ยาวนานมากขึ้น