รู้ทันโรคปอดอักเสบ ว่ามีสาเหตุ - อาการของโรคเป็นอย่างไร แล้วโรคนี้ติดต่อกันทางไหนได้บ้าง พร้อมการป้องกัน วิธีการรักษา หรือ การลดความเสี่ยงของโรค จะมีแนวทางใดบ้างนั้น วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ที่ได้เผยแพร่ข้อมูลของโรคดังกล่าวนี้มานำเสนอ
โรคปอดอักเสบ (pneumonitis) หรือที่เรียกกันว่า ปอดบวม เป็นการอักเสบของเนื้อปอดที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการติดเชื้อในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งบางครั้งการติดเชื้ออาจรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจึงควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไว้ก่อน
สาเหตุของโรคปอดอักเสบ เกิดได้จาก 2 สาเหตุ ได้แก่
1.ปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือ pneumonia (ปอดบวม)
2.ปอดอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
ปัจจัยเสี่ยงของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
โรคปอดอักเสบสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่ในกรณีของปอดอักเสบจากการติดเชื้อ มักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ และผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังนี้ คือ
การรับเชื้อสามารถเกิดได้หลายวิธี
การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบ
แพทย์วินิจฉัยโรคปอดอักเสบได้โดยการซักประวัติ สอบถามอาการโดยเฉพาะอาการไอแบบมีเสมหะ มีไข้ และหายใจหอบในกรณีที่สงสัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ ร่วมกับการตรวจร่างกาย เช่น ฟังเสียงปอด และเอกซเรย์ปอด
นอกจากนี้ ยังมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่
อาการของโรคปอดอักเสบ
แม้ว่าโรคปอดอักเสบจากทั้งสองสาเหตุจะมีอาการใกล้เคียงกัน แต่วิธีการป้องกันและรักษาแตกต่างกัน และเนื่องจากโรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถติดต่อได้ง่ายจึงเป็นชนิดที่พบได้มากกว่า และจำเป็นต้องเฝ้าระวังผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาด
อาการของโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ
ทั้งนี้ ระดับความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ อายุ และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
การรักษาโรคปอดอักเสบ
การรักษาโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เป็นการรักษาการติดเชื้อร่วมกับการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น โดยทางเลือกในการรักษาประกอบด้วย
การป้องกันโรคปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบโดยเฉพาะที่เกิดจากการติดเชื้ออาจมีความรุนแรงมากจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ การป้องกันโรคจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยควรปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
ฉีดวัคซีนป้องกันโรค แพทย์แนะนำให้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงซึ่งหมายถึง เด็กเล็ก ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำหรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง ฉีดวัคซีนที่ให้ผลในการลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อซึ่งได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ (Flu vaccine) และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ (Pneumococcal vaccine) สำหรับป้องกันการติดเชื้อ Streptococcus pneumonia หรือที่เรียกกันว่าเชื้อนิวโมคอคคัส โดยวัคซีนนี้ มี 2 ชนิด คือ
1.วัคซีนแบบโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) สำหรับฉีดในผู้ใหญ่ที่มีปัจจัยเสี่ยงและผู้สูงอายุ โดยควรฉีดซ้ำหลังจากเข็มแรก 5 ปี
2.วัคซีนแบบคอนจูเกต (Conjugate) แบ่งออกเป็นชนิดป้องกันเชื้อนิวโมคอคคัส 7 สายพันธุ์ (PCV7), 10 สายพันธุ์ (PCV10) และ 13 สายพันธุ์ (PCV13) ทั้งสามชนิดได้รับการรับรองให้ฉีดป้องกันเชื้อในเด็กตั้งแต่อายุ 6 สัปดาห์ – 5 ปี ยกเว้นวัคซีนชนิด 13 สายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองให้ฉีดในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงและมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
ทั้งนี้ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบพร้อมกันในวันเดียวได้ โดยฉีดคนละแขนและเป็นการฉีดแบบผู้ป่วยนอก หลังฉีดวัคซีนอาจมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดเล็กน้อยแต่จะหายเองได้ภายใน 2-3 วัน
ข้อปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคปอดอักเสบ
ขณะที่ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ระบุว่า โรคปอดอักเสบป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยวัคซีนที่สามารถฉีดได้จะมีอะไรบ้าง และคำแนะนำในการฉีดวัคซีนปอดอักเสบในผู้ใหญ่จะมีอะไรบ้าง สามารถตรวจสอบได้ที่นี่
วัคซีนที่สามารถใช้ได้
1. วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ (Polysaccharide vaccine, PPSV23)เป็นวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส 23 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่ รวมถึงสายพันธุ์ที่มักดื้อยา
2. วัคซีนชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์ (Conjugate vaccine, PCV13)เป็นวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรีย นิวโมคอคคัส 13 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่
คำแนะนำในการฉีดวัคซีนปอดอักเสบในผู้ใหญ่
ที่มาข้อมูล - ภาพ