โควิดสายพันธุ์ BA.2.86 กำลังถูกจับตามองเป็นอย่างมาก หลังจากที่ปัจจุบันมีหารแพร่ระบาดไปในหลายพื้นที่
ทั้งนี้ ประเด็นที่ได้รับความสนใจก็คือประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อ
ล่าสุดรศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความระบุถึง โควิดสายพันธุ์ BA.2.86 ว่า
Update Pirola (BA.2.86)
หมอธีระระบุว่า จากฐานข้อมูล GISAID ปัจจุบันมีรายงานเคสแล้ว 42 รายจากทั่วโลกทั้งทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา โดยอีก 6 รายล่าสุดจากสหราชอาณาจักรรอการ upload
นอกจากนี้ยังมีรายงานตรวจพบในน้ำเสียจากชุมชนจากหลากหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ รวมถึงประเทศไทย
ล่าสุด BA.2.86 มีลูกเป็น BA.2.86.1 แล้ว โดยมีการกลายพันธุ์เพิ่มอีก 2 ตำแหน่ง โดยรายงานพบที่รัฐ Colorado ประเทศสหรัฐอเมริกา
สมรรถนะของ BA.2.86
จนถึงตอนนี้ มีผลการศึกษาในห้อง lab จำนวน 3 ชิ้น ที่มาจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ประเทศจีน, สถาบัน Karolinska ประเทศสวีเดน, และ Barouch lab ซึ่งร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัย Harvard และ Columbia ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผลออกมามีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันคือ
อย่างไรก็ตาม ผลต่างๆ ข้างต้นมาจากการศึกษาในหลอดทดลองทางห้องปฏิบัติการ แต่ในชีวิตจริง มีปัจจัยต่างๆ อีกมากที่ส่งผลต่อการแพร่ระบาดของ BA.2.86
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า BA.2.86 นั้นได้รับการรายงานเร็วๆ นี้ โดยเริ่มจากอิสราเอล และพบกระจายไปทั่วโลกในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ทั้งๆ ที่ประชากรในโลกมีการติดเชื้อไปมาก รวมถึงมีการได้รับวัคซีนพื้นฐานไปพอสมควรแล้ว รวมถึงมีสายพันธุ์ XBB.x ที่ครองการระบาดอยู่ทั่วโลก นั่นจึงเป็นบทพิสูจน์ว่า Pirola หรือ BA.2.86 น่าจะต้องมีสมรรถนะที่แข็งแกร่งพอตัว ที่จะทำให้มันยังมีการระบาดไปทั่วโลกเช่นนี้ได้
การติดเชื้อแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะติดครั้งแรก หรือติดซ้ำ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าทำให้เสี่ยงต่อการป่วย ตาย รวมถึง Long COVID ได้ในระยะยาว