ข่าวดี ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาทและประชาชนคนไทยทุกสิทธิการรักษาพยาบาล ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. ได้ประสานความร่วมมือกับองค์กรวิชาชีพต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและให้บริการผู้มีสิทธิบัตรทอง
ด้วยการสนับสนุนการจัดบริการตรวจสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ ห้องแล็บ ณ คลินิกเทคนิคการแพทย์ ที่เข้าร่วมให้บริการใกล้บ้าน (Lab Anywhere)" โดยมี สปสช.เขต ทำหน้าที่เป็นผู้จัดเครือข่าย
นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า การเปิดทางเลือกในการรับบริการแล็บให้กับผู้มีสิทธิบัตรทอง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งทั้งกรณีเข้ารับบริการผู้ป่วยนอกที่สถานพยาบาลเป็นผู้ส่งต่อ และบริการสร้างเสริมสุขภาพฯ 2 รายการ ที่ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับบริการได้นั้น เป็นบริการที่ประชาชนเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานได้เช่นเดียวกับการรับบริการที่โรงพยาบาล
สิ่งที่ให้บริการ
รายการบริการมีจำนวน 24 ราย แบ่งเป็น
กลุ่มเป้าหมาย
กรณีผู้ป่วยนอก :
เป็นสิทธิที่ให้บริการเฉพาะผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาทใน "กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง" ที่มี "ใบสั่งการตรวจ" ทางห้องปฏิบัติการจาก "หน่วยบริการที่ดูแล" ครอบคลุมทั้งผู้ที่มารับบริการที่คลินิกเทคนิคการแพทย์และที่บ้าน
กรณีการรับบริการเก็บสิ่งส่งตรวจที่บ้าน กำหนด "เฉพาะผู้ป่วยที่ไม่สามารถมารับบริการที่หน่วยบริการเท่านั้น" เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่นอนติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยชรา ผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิง หรือกรณีมีความจำเป็น
ช่องทางการให้บริการ
ผู้ป่วยนอก (OP) 24 รายการ ตามหมวด 8 หมู่ ดังนี้
1.การตรวจหาความเข้มข้นและความผิดปกติของเม็ดเลือด (Complete Blood Count : CBC)
2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Blood Sugar)
3. การตรวจนน้ำตาลสะสม (HbA1C)
4.การตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile:Cholesterol, HDL,LDL, Triglyceride)
5.ตรวจการทำงานของตับ (Liver Function Test:SGOT,SGPT,ALK, Total Protein,Total bilitybin, Direct bilirubin, Albumin)
6.การตรวจการทำงานของไต (BUN,Creatinine)
7.การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
8.การตรวจไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2 รายการ
1.บริการตรวจทดสอบปัสสาวะ ในกรณีสงสัยว่าการตั้งครรภ์
2.บริการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ด้วยวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ สำหรับประชาชนอายุ 50-70 ปี ทุก 2 ปี
สำหรับทั้ง 2 รายการนี้ตามกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้ารับบริการได้ที่คลินิกเทคนิคการแพทย์ที่ร่วมโครงการได้ โดยไม่ต้องมีใบสั่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยให้บริการคนไทยทุกสิทธิการรักษาพยาบาล
อัตราการชดเชยค่าบริการ
ทั้งนี้ หน่วยบริการไม่สามารถเรียกเก็บเพิ่มเติมจากผู้บริการได้
ปัจจุบันมีคลินิกเทคนิคการแพทย์เข้าร่วมให้บริการแล้ว 32 แห่ง โดยในจำนวนนี้ 3 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียน โดยในส่วนของคลินิกเทคนิคการแพทย์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อยและได้เปิดให้บริการ Lab anywhere แล้ว