ยังคงอยู่ในกระแสวิพากษ์วิจารณ์ กับเนื้อหาทางคลิปสั้นออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มยอดฮิต ถึงการที่มีผู้ใช้รายหนึ่ง ผลิตเนื้อหาสอนผู้อื่น ที่มีค่านิยมมองมนุษย์เป็นวัตถุ กดทับทางเพศ และสร้างค่านิยมให้มนุษย์สามารถทำตามความต้องการของตนเองได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงหลักศีลธรรม หรือรู้สึกผิด โดยใช้วิธี “Gaslighting” เพื่อกดทับบุคคลอื่นๆ
เพื่อเอาตัวรอดเมื่อเจอการ “Gaslighting” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ และรู้สึกด้อยค่าในตนเอง ควรรู้เท่าทัน เกี่ยวกับพฤติกรรม “Gaslighting”
“Gaslighting” เป็นหนึ่งในรูปแบบของการทารุณกรรมทางจิตวิทยา (phychological abuse) โดยการค่อยๆสร้างความรู้สึกให้อีกฝ่ายไม่เชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ รู้สึกด้อยค่า รู้สึกว่าตนเองเป็นฝ่ายผิด จนกระทั่งรู้สึกว่าการที่ตนเองต้องถูกละเมิด ถูกปฏิบัติไม่ดีด้วยนั้น เป็นสิ่งที่สมควรแล้ว
ซึ่งการ “Gaslighting” เป็นกับดักทางจิตวิทยาที่มีความอันตราย สามารถพบได้ในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ ทั้งระหว่างคนรัก ครอบครัว เพื่อน สังคมการศึกษา และสังคมการทำงาน
1. เป็นฝ่ายที่ต้องเอ่ยคำขอโทษตลอดเวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของตน
2. เชื่อว่าตนเองไม่สามารถทำสิ่งที่ถูกได้ ทำอะไรก็ผิดเสมอ
3. รู้สึกวิตกกังวลตลอดเวลา หวาดกลัวว่าจะทำผิดหรือไม่ถูกใจใคร
4. สูญเสียความมั่นใจในตนเอง
5. สูญเสียความเป็นตัวตน
6. ตั้งคำถามเกี่ยวกับความคิดและการตัดสินใจของตนเองตลอดเวลา ไม่กล้าที่จะตัดสินใจ
7. รู้สึกโดดเดี่ยวและไร้กำลัง รู้สึกว่าตนไม่เหมือนใคร แตกต่างและแปลกแยก
8. ผิดหวังในตนเอง และกลัวผู้อื่นจะผิดหวังในตัวเอง
1. เว้นระยะห่าง ถอยห่างจากความรู้สึกสงสัยในตนเองที่ถูกทิ้งเอาไว้ให้ การเดินออกจากสถานการณ์เหล่านั้นหรือให้เวลาตนเองได้หายใจลึกๆเพื่อผ่อนคลายและมีเวลาใช้ความคิด อาจช่วยให้เราสามารถทบทวนได้ว่ากำลังเผชิญหน้ากับสิ่งใด
2. เก็บหลักฐาน เพราะ gaslighting มักทำให้คุณต้องสงสัยในตัวคุณเอง การเก็บหลักฐานของเรื่องราวต่าง ๆ ไว้นั้นจะช่วยให้คุณสามารถยืนยันกับตนเองและสถานการณ์ตรงหน้าได้ว่าความคิดของคุณไม่ใช่เพียงแค่ความคิดเห็นของคุณฝ่ายเดียว
3. ใช้มุมมองที่ 3 มุมมองของคนที่อยู่ภายนอกสถานการณ์อาจช่วยให้คุณมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นในเรื่องราวเหล่านั้น การอยู่ในสถานการณ์ที่มีการบีบคั้นทางอารมณ์ ย่อมทำให้มุมมองต่าง ๆ ของคุณแคบลงและไม่สามารถประมวลผลสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
4. ถอยห่างจากความสัมพันธ์ แม้จะเป็นหนทางที่ยากในการกระทำได้จริง แต่การเผชิญกับ gaslight ซ้ำ ๆ จนทำให้สูญเสียความเป็นตัวตนไปนั้นย่อมส่งผลเสียที่มากกว่า หากพบสัญญาณของการกระทำเหล่านั้นและพบว่าไม่มีหนทางอื่นใดที่จะแก้ไขได้ การจบความสัมพันธ์นั้นอาจเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการหลีกให้พ้นและจบการทำร้ายทางจิตใจลง
ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาระบุว่า สาเหตุที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรม“Gaslighting” เป็นเพราะปมในใจที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก ที่ไม่ได้รับความรัก ความอบอุ่นจากครอบครัว ความรู้สึกว่าตนเองไม่มีความสำคัญ ไม่มีคุณค่า ไม่ตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง
ที่มา : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,ช่องTiktok หนึ่งเอง